การสูญเสียผลผลิตจาการทำลาย จากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูพืชและวัชพืช ทำให้ มีการใช้สารเคมีในการป่องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นจำนวนมากและมีการใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้น ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยสารเคมีทางการเกษตรต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นและมีการผูกขาดขากบริษัทผู้ผลิตสารเคมี ระบบการผลิตเช่นนี้จึงไม่ยั่งยืน การลดการใช้สารเคมีโดยการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นแนวทางในการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ในการอบรมของศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ทั้ง 4 ภาค มีการนำองค์ความรู้เรื่อง น้ำสกัดชีวภาพ สารไล่แมลง สารกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน มาถ่ายทอดฝึกปฏิบัติ สรุปดั้งนี้
น้ำสกัดชีวภาพ
น้ำสกัดชีวภาพ คือ น้ำที่ได้จากการหมักดองพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด ขบวนการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การหมักพืชหรือสัตว์ซึ่งจะได้ก๊าซมีเทน เกิดขึ้น โดยจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียจะเปลี่ยนก๊าซมีเทน ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์เมื่อถูกออกซิเจนในอากาศทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์จะมีกลิ่นหอมหรือเหม็นเฉพาะตัว ถ้ามีกลิ่นหอมก็เป็นสารดึงดูดแมลง ถ้ามีกลิ่นเหม็นก็จะเป็นสารไล่แมลง
วัสดุและอุปกรณ์
1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบหรือจะใช้ ถุงพลาสติกก็ได้
2. น้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด ถ้าได้กากน้ำตาลยิ่งดี เพราะมีราคาถูกและมี ธาตุอาหารอื่นๆ ของจุลินทรีย์ นอกจากน้ำตาลอยู่ด้วย
3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อนรวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สุดไม่ เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน เปลือกมะม่วง
4. ของหนัก เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหิน
วิธีทำ
1. นำพืชผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับสลับกับกันเป็นชั้น ๆ ก็ได้
2. ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ ควรทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืชผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็มัดปากถุงให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ อากาศเข้าไปได้ เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมักดองลงไปทำงาน
หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน จะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ เกิดขึ้นจากการละลายตัวของ น้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผัก น้ำตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็ จะเพิ่มปริมาณมากมาย พร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิด ดังกล่าวข้างต้น ของเหลวที่ได้ เรียกว่า น้ำสกัดชีวภาพ
4. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ 10 – 14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออก บรรจุลงในภาชนะพลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกเร็วเกินไป เพราะต้องการให้มีปริมาณจุลินท รีย์มากๆ เพื่อเร่งกระบวนการหมักน้ำชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์ จะมี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวัน แล้วปิดเอาไว้อย่างเดิมจนกว่าจะ หมดก๊าซ
ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมัก จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ผัก ผลไม้ ที่ใช้หมัก ซึ่งจะมีน้ำอยู่ 95 - 98 % สีของน้ำสกัดชีวภาพก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลที่ใช้หมัก ถ้า เป็นน้ำตาลฟอกขาว ก็จะมีสีอ่อน ถ้าเป็นกากน้ำตาล น้ำสกัดชีวภาพจะเป็นสีน้ำตาลแก่
5. ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆน้ำสกัด ชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายๆ เดือน
6. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ได้หรือจะ คลุกเคล้ากับดิน หมักเอาไว้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้
หมายเหตุ
ในกรณีที่มีการหมักต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องเอากากออกสามารถใส่พืชผักลงไปเรื่อยๆ ก็ได้หรือในกรณีที่หมักยังไม่เต็มถังก็สามารถเติมจนเต็มถังได้ แล้วปิดฝาทุกครั้งหลังจากเปิดฝาหรือมัด ถุงให้แน่นเหมือนเดิมเพื่อป้องกันอากาศเข้า เพราะถ้าหากอากาศเข้ามากๆ จะมีจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ ต้องการลงไป ทำให้เสีย มีกลิ่นเหม็นเน่าได้ น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดี จะมีกลิ่นหมักดองและมีกลิ่น แอลกอฮอล์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมี รสเปรี้ยว
วิธีใช้ในพืช
1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500 - 1,000 ส่วน เทใส่ถัง เครื่องพ่นยา รดต้นไม้หรือฉีดพ่นใบ
2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนและควรทำในตอนเช้า หรือหลังจากฝนตกหนัก
3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรียวัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย คอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งฟาง เป็นต้น
4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืช ก่อนนำไปเพาะจะช่วยให้เมล็ดงอก
ประโยชน์
ในน้ำสกัดชีภาพ ประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่าง ๆ หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่าง ๆ เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุ เป็นอาหารของ จุลินทรีย์เองและเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่ จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้า ให้ในปริมาณเล็กน้อย แต่จะมีโทษถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้นในการใช้น้ำสกัดชีวภาพ ในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น เป็นสารที่เพิ่มความต้านทานให้แก่ พืช ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน
เนื่องจากน้ำสกัดชีวภาพมีสภาพเป็นกรดจัด PH 3.5-4) เมื่อนำไปใช้ น้ำสกัดชีวภาพที่ เจือจางแล้วก็ยังมีสภาพความเป็นกรดเล็กน้อย (ค่า PH ต่ำกว่า 7) จึงช่วยทำให้ใบพืชสามารถดูดซึม สารอินทรีย์จากน้ำสกัดชีวภาพได้ในปริมาณมากขึ้น
สูตรการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากผักและผลไม้
วัสดุ อุปกรณ์
1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิทจะเป็นถังพลาสติก หรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลได้ทุกชนิด
3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดยังไม่เน่าเปื่อย
4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ ( ถ้าไม่มีให้ใช้สารเร่ง 1 ซอง )
วิธีการทำ
1.ผสมน้ำกับน้ำตาล หรือกากน้ำตาล โดยแบ่งถังเป็น 3 ส่วนน้ำกับน้ำตาลส่วนที่ 1 ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารเร่ง 1 ซอง กวนให้เข้ากัน
2. นั่นผัก ผลไม้ให้เป็นชิ้น ๆ ใส่ลงไปในถัง ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 วัน
3. เมื่อครบกำหนดจึงน้ำน้ำสกัดไปใช้ประโยชน์ได้
4. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ได้
วิธีการใช้
1.ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500 - 1,000 ส่วนรดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ
2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนและควรทำในตอนเช้า
3. ควรใช้อย่างสม่ำเสมอ
4. ใช้กับพืชได้ทุกชนิด
การเก็บรักษา
ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม และต้องปิดฝาให้สนิท
ประโยชน์
1. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ในดินและการเจริญเติบโตของพืช
2. มีราคาถูก สามารถทำได้ด้วยตนเอง
3. ใช้กับพืชได้ทุกชนิด
2. น้ำหมักสูตรน้ำซาวข้าว
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำซาวข้าว (น้ำแช่ข้าวเหนียว) 24 ลิตร
2. น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำน้ำซาวข้าวมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลให้เข้ากัน
2. หมักทิ้งไว้ 7 วันขึ้นไป ก็สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์
ใช้บำรุงพืชผักทั่วไป โดยการรดหรือฉีดพ่น เพื่อช่วยให้พืชงาม
3. น้ำหมักข้าวกล้อง
วัสดุอุปกรณ์
1. ข้าวกล้องหุงสุก 3 กิโลกรัม
2. น้ำตาล 6 กิโลกรัม
3. แป้งเหล้า 3 ลูก
4. น้ำเปล่า 15 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำข้าวกล้องหุงสุกคลุกเคล้ากับแป้งเหล้าบดละเอียดขณะอุ่นๆหมักทิ้งไว้ 3 วัน
2. เติมน้ำเปล่า 15 กิโลกรัม และเติมน้ำตาล 6 กิโลกรัม คนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 วัน
3. กรองเอาแต่น้ำก็สามารถนำไปใช้ได้
4. ถ้าใช้เพื่อการไล่แมลง ไม่ต้องเติมน้ำตาล แล้วแช่ด้วยพืชสมุนไพรที่นั่นโขลก ให้ละเอียด หมักไว้อีก 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ขับไล่แมลงได้
การใช้ประโยชน์
1. ใช้บำรุงข้าว ช่วยให้รวงข้าวโต และเม็ดข้าวเต็ม
2. ป้องกันโรคจากเชื้อแบคทีเรียในพืชตระกูลแตงและมะเขือเทศ
3. ควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ย
4. น้ำหมักยูเรีย
วัสดุอุปกรณ์
1. ปัสสาวะ 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาล 1 กิโลกรัม
3. รายละเอียด 0.5 กิโลกรัม
4. หัวเชื้อดินระเบิด 1 ก้อน
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำปัสสาวะน้ำตาล และรายละเอียด มาใส่ถัง จากนั้นคนให้เข้ากัน
2. ใส่หัวเชื้อดินระเบิด 1 ก้อน หมักทิ้งไว้ 7 - 20 วัน และต้องคนทุกวัน
การใช้ประโยชน์
1. ใช้รดทางโคนต้นไม้ รดพืชผัก หรือฉีดพ่นทางใบ เพื่อเร่งในการเจริญเติบโต
2. น้ำหมักยูเรีย คือ ปุ๋ยยูเรียธรรมชาตินั้นเอง
5. น้ำหมักมูลคน (น้ำส้วม)
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำส้วม 30 ลิตร
2. น้ำมะพร้าว 10 ลิตร
3. น้ำหัวเชื้อดินระเบิด 20 ลิตร
4. เปลือกสับปะรด 3 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำน้ำส้วม น้ำมะพร้าวน้ำหัวเชื้อดินระเบิด เปลือกสับปะรด และกากน้ำตาล มาผสม คนให้เข้ากัน
2. หมักทิ้งไว้ 30 วัน เพื่อให้เชื้อที่ไม่ดีถูกสังเคราะห์จนเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
3. เมื่อครบ 30 วันจึงปลอดจากเชื้อปนเปื้อนต่างๆ แน่นอน สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์
1. นำน้ำหมักที่ได้ฉีดพ่นพืช เพื่อเร่งราก ใบ ดอก และผล
2. นำน้ำหมักที่ได้เทลงดินใช้เป็นปุ๋ยของพืช
6. น้ำหมักฟอสเฟต
วัสดุอุปกรณ์
1. ยอดผักต่างๆ (ยอดผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย ฯลฯ) 3 กิโลกรัม
2. ผลไม้ต่างๆ (กล้วย มะละกอ ฟักทอง ฯลฯ) 3 กิโลกรัม
3. น้ำตาล 2 กิโลกรัม
4. น้ำหัวเชื้อดินระเบิด 20 ลิตร
5. แร่ฟอสเฟตหรือเปลือกหอย 3 กิโลกรัม
6. น้ำส้มควันไม้ (ถ้ามี) 1 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำยอดผัก ผลไม้ น้ำตาล หัวเชื้อดินระเบิดมาหมักรวมกันไว้ ทิ้งไว้ 7 – 15 วัน
2. หลังจากนั้นให้ใส่แร่ฟอสเฟตหรือเปลือกหอย ลงไปหมักต่อไปอีก 7 – 15 วัน
3. หลังจากหมักได้ 20 – 30 วันแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์
นำน้ำหมักฟอสเฟตไปฉีดพ่น พืชผัก ผลไม้ นาข้าวได้ตามต้องการ จะช่วยทำให้พืชผัก ต่างๆ ได้ผลผลิตสูงขึ้น