กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมลุยแก้ปัญหาราคายางพารา เชื่อเพิ่มขึ้นถึง60บาทต่อกิโล
31 ต.ค. 57 นายโอภาส กลั่นบุศย์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กล่าวในที่ประชุมถึงความคืบหน้าในการอแก้ไขปัญหาราคายางพาราว่า จากที่รัฐบาลมีมติในการในการอนุมัติงบประมานเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรที่สหกรณ์ในการรับซื้อยางพาราและปรับปรุงโรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและผลักดันให้ราคายางขยับตัวสูงขึ้นว่าล่าสุดขณะนี้มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ยื่นขอกู้ จำนวน 521 แห่ง วงเงิน 5,078.15 ล้านบาท ซึ่งมีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) แล้วจำนวน 69 แห่ง วงเงิน 959.10 ล้านบาท และมีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้เบิกเงินกู้ไปแล้ว 52 แห่ง ใช้เงินทุนหมุนเวียน 376.37 ล้านบาท
ทั้งนี้เบื้องต้นสำหรับสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเขาซก จำกัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ในโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาราคายางพาราได้มีการกู้ยืมเงินเพื่อกำเนินการรับซื้อยางจากสมาชิกสหกรณ์ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งได้รับการอนุมัติวงเงิน 120 ล้านบาท และได้มีการดำเนินการรับซื้อยาวจากเกษตรกร และมีการกู้ยืมเงินในส่วนที่มีการกู้ยืมเงินใช้ปรับปรุงโรงงานแปรรูปยางพาราอีก 31 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ จาก ธกส.จากมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้ราคายางขยับตัวสูงขึ้นเป็นกก.ละ50-55บาท และมีแนวโน้มว่าราคายางจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสหกรณ์เกิดความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว เพราะรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนโครงการ ทำให้สหกรณ์และสมาชิกเกิดความเชื่อมั่น คาดว่าราคายางจะปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลตั้งราคานำซื้อยางแผ่นไม่เกิน 60 บาท ซึ่งสหกรณ์เขาชกแห่งเดียวสามารถรับซื้อยางจากสมาชิกได้ประมาณวันละกว่า100ตัน
นอกจากนั้นยังมีการอนุมัติวงเงินให้สถาบันเกษตรกรและให้สหกรณ์สามารถกู้เงินปลอดดอกเบี้ยโดยมีวงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อขยายปรับปรุงโรงงานยาง มีสหกรณ์ขอกู้ 200 แห่ง ใช้วงเงิน 4,400 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานช่วยให้สมาชิกได้จากโครงการคือ เสริมสภาพคล่องสามารถซื้อยางจากสมาชิสหกรณ์เพื่อเสริมสภาพคล่อง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับสมาชิก เพื่อเพิ่มปริมาณธุรกิจต้องเพิ่มความเชื่อมั่นให้สมาชิก ทั้งนี้ระบบสหกรณ์เป็นการระดมทุน ในการช่วยเหลือเกษตรกรโดยมาตรการในการที่ทางรัฐบาลช่วยเหลือในการปล่อยเงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อรับซื้อแทรกแซงในครั้งนี้ถือว่าเป็นในการแก้ปัญหาการกดราคารับซื้อยางพาราจากพ่อค้าคนกลางและส่งผลให้ราคาเริ่มขยับตัวสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ55บาทโดยขณะนี้สามารถรับซื้อยางจากเกษตรกรแล้วกว่า7 หมื่นตันเป็นมูลค่ากว่า2,865ล้านบาท