ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ
เมล่อน ต้นทุนต่ำ ที่ อ.ลาดบัวหลวง จ.อยุธยา
6 ไร่ ลงทุนแสนกว่า แต่ทำเงินร่วม 7 แสนบาท
ด้วยความที่เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการการดูแลที่ค่อนข้างละเอียด รวมถึงความเป็นพืชที่มีศัตรูค่อนข้างมาก แต่ละชนิดที่เข้าโจมตีก็เรียกว่าโหดๆทั้งนั้น จึงทำให้เมล่อนกลายเป็นพืชที่ถูกมองว่า ต้องใช้ฝีมือในการปลูกค่อนข้างมาก เมล่อนต้องลงทุนสูง ประกอบที่ผ่านมาสัมภาษณ์คนปลูกเมล่อนในระดับเซียนแต่ละรายล้วนแต่บอกว่า การที่จะก้าวสู่ความสำเร็จในการปลูกเมล่อนต้องมีการจัดการที่ค่อนข้างมากทั้งในเรื่องของน้ำ ปุ๋ย สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จนทำให้เมล่อนถูกมองว่าเป็นพืชใจเสาะ พืชคุณหนูที่ต้องอยู่ในโรงเรือนจึงจะทำให้สำเร็จได้ง่ายกว่าการปลูกกลางแจ้ง คนที่ปลูกเมล่อนกลางแจ้งต้องต่อสู้กับโรค-แมลงมาก เมล่อนจึงกลายเป็นพืชที่สงวนไว้สำหรับคนที่มีทุนสูง คนที่มีเทคโนโลยีสูง คนที่มีความรู้และประสบการณ์สูงเท่านั้น แต่วันนี้สวนเมล่อนที่เราได้เข้าไปเยือนนั้นทำให้เรารู้จักเมล่อนในมุมที่แตกต่างจากที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง
กลุ่มผู้ปลูกเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา อ.ลาดบัวหลวง จ.อยุธยา วันนี้พวกเขาได้พิสูจน์แล้วว่า เมล่อนไม่ใช่พืชที่ต้องการอะไรมากมายอย่างที่พวกเขาเคยรู้จักและเข้าใจผิดมาโดยตลอด วันนี้พวกเขาก้าวผ่านความล้มเหลวสู่ความสำเร็จที่รอคอยมาตลอดหลายปี และวันนี้พวกเขาไม่กลัวความล้มเหลวอีกแล้ว พวกเขาเรียนรู้ที่จะทำให้การปลูกเมล่อนให้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกแล้ว เมล่อนชุดแรกเก็บไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา และชุดต่อมาก็จะทยอยกันเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำว่าความสำเร็จของพวกเขาไม่ใช่แค่เรื่องฟลุ๊ค แต่มันคือความเข้าใจที่จะทำให้มันสำเร็จในทุกครั้งของการปลูก
จากชาวนาสู่เมล่อน...แบบกลางแจ้ง
ลุงสวาท ผู้นำกลุ่ม เล่าว่า สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา เมื่อก่อนก็มีเกษตรกรอาชีพทำนากันเป็นหลัก แต่วันหนึ่งพวกเขาก็สนใจปลูกเมล่อนโดยหวังว่ามันจะพาไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า โดยมีบริษัทรับซื้อเข้ามาส่งเสริมให้ปลูก พวกเขาจึงไปศึกษาหาความรู้จากแปลงปลูกเมล่อนระดับเซียนที่ประสบความสำเร็จก่อนที่จะมาลงมือทำ จากความสำเร็จเพียงแค่ครั้งเดียวพวกเขาเห็นเงินก้อนโต เมล่อนแค่ไม่กี่ไร่ทำเงินหลายแสนทั้งที่มันเก็บผลผลิตได้ไม่เต็มร้อย เพียง 50-60% เท่านั้น จากวันนั้นพวกเขาก็พยายามที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จในการปลูกเมล่อนมาตลอด แต่สิ่งที่พวกเขาเผชิญมาตลอดก็คือ ไวรัส ที่พวกเขาไม่เคยชนะมันได้เลย เมื่อหลายรุ่นที่ทำไม่ประสบความสำเร็จ เงินทุนก็เริ่มหร่อยหรอ สมาชิกกลุ่มหลายคนเริ่มท้อ จนเลิกทำ หันกลับไปทำนาเหมือนเดิม
แต่เมื่อ 2 เดือน ที่แล้ว ในวันที่กำลังจะเพลี้ยงพล้ำกับไวรัสอีกรอบ ลุงสวาท บอกว่า ถ้ารอบนี้ไม่รอด พวกเขาก็จะเลิกกลับไปทำนาเหมือนเดิมแล้ว เครื่องพ่นยา และ แบล็คโมซ่า ก็ทำให้เขามีความหวังอีกครั้งเมื่อมันทำให้ ต้นเมล่อนที่โดนไวรัสเล่นงานจนแทบหมดทางรอด ยอดหงิกจนหยุดชะงัก สามารถเจริญเติบโตต่อไปจนให้ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้ และแปลงนี้ก็เป็นผลงานของ แบล็คโมซ่า+ไอซัคกิ้ง ในฤดูกาลผลิตที่แสนโหด เพราะช่วงแล้งอย่างนี้เมล่อนต้องเจอเพลี้ยไฟ ไรแดงและไวรัสอย่างหนัก
เทคนิคการดูแล ให้น้ำ ปุ๋ยเมล่อน
ธรรมดา ง่าย จนไม่น่าเชื่อ
เมล่อนที่นี่จะปลูกโดยใช้ระบบน้ำหยด 1 ไร่ ประมาณ 2,500 ต้น รุ่นนี้ประมาณ 16,000 ต้น หรือประมาณ 6 ไร่กว่า ปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 40 ซม. ร่องกว้าง 1.50 เมตร พลาสติกคลุมแปลงใช้ขนาดกว้าง 1.50 เมตร แปลงนี้ใช้พลาสติกทั้งหมด 3 ม้วน ราคาม้วนละ 1,400 บาท ใช้สายน้ำหยดไป 4 ม้วนๆละ 1,450 บาท ส่วนเมล็ดพันธุ์ราคา 4 บาท เมื่อเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว นำต้นกล้าที่เพาะไว้ อายุ 10-12 วันมาลงปลูก
ในส่วนของปุ๋ย คนปลูกเมล่อนส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยสำหรับระบบน้ำโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ใช้ปุ๋ยไฮโดรโพรนิกส์ แต่ลุงสวาทมองว่าต้นทุนสูงเกินไป ปุ๋ยที่ใช้จึงใช้ปุ๋ยเม็ดธรรมดามาละลายน้ำแล้วปล่อยไปตามสายน้ำหยด ก็ได้ผลดีไม่แพ้กัน ปุ๋ยสำหรับเมล่อนจึงไม่ใช่คำตอบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ลุงสวาทให้ปุ๋ยวันเว้นวันหรือเว้นสองวันสลับกับการให้น้ำ ช่วงแรกให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 หรือ 20-20-20 โดยอัตราการให้ปุ๋ยช่วงต้นเล็กก็จะให้น้อยๆก่อน จาก 1 กรัม/ต้น แล้วเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนช่วงผลโตจะใช้ประมาณ 4 กรัมต่อต้น ช่วงผลโตใกล้เก็บเกี่ยวเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง 13-13-21 เพื่อเพิ่มความหวานและทำให้เนื้อแน่น ตาข่ายสวย แต่รุ่นนี้ลุงสวาท บอกว่า ต้องการพิสูจน์ฮอร์โมนเพิ่มความหวาน เมลาน่า จึงใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ตั้งแต่เล็กจนเก็บเกี่ยวเลย แต่มาใช้เมลาน่าพ่นเพื่อเพิ่มความหวานก่อนเก็บเกี่ยว 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ลุงสวาทบอกไม่น่าเชื่อความหวานของเมล่อนรุ่นนี้สูงถึง 15 บริกซ์เลยทีเดียว ทั้งที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูงเลย
ในส่วนของธาตุอาหารเสริมลุงสวาทใช้เพียง แคลเซียม-โบรอน(โบลีน-แคน)เท่านั้น พ่นในช่วงออกดอกเพื่อบำรุงให้ดอกสมบูรณ์ การติดผลสมบูรณ์ และพ่นช่วงผลทำให้เมล่อนขึ้นลายตาข่ายสวย ช่วงเก็บเกี่ยวทำให้น้ำหนักดี เนื้อแน่น ผลไม่แตก เสริมรสชาติให้หวานขึ้น อย่างอื่นไม่ได้ใช้เลย ทั้งที่เมื่อก่อนใช้สารพัดอาหารเสริมแถมยังพ่นแบบโหมกระหน่ำอีกด้วย
วางแผนการผลิตจัดการหนักแค่ 4 ช่วงหลัก
ลุงสวาทบอกว่า เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการการดูแลที่ละเอียดกว่าพืชอื่น แต่เพื่อให้การจัดการง่ายและไม่ต้องจ้างแรงงานบ่อย ลุงสวาทจะจัดงานและจ้างแรงงานแค่ 4 ช่วงหลักๆ คือ ครั้งแรกจ้างปลูก ครั้งที่ 2 ช่วงเมล่อนอายุ 15 วัน ริดแขนงครั้งแรกพร้อมกับจับยอดขึ้นพันค้าง ครั้งที่ 3 ช่วงอายุ 25-26 วัน ริดแขนงครั้งที่ 2 พร้อมกับคัดเลือกลูกไว้ 3 ลูก ในข้อที่ 9-11 ครั้งที่ 4 อายุ 30-35 วัน ริดแขนงรอบสุดท้ายพร้อมกับคัดเลือกที่สมบูรณ์ (จาก 3 ลูก ที่เลือกไว้) ที่สุดไว้เพียง 1 ลูก แล้วใช้เชือกฟางมัดแขวนลูก พร้อมกับตัดยอดในแขนงที่ 25-26 ทิ้งเพื่อหยุดการเจริญเติบโตทางยอด ให้อาหารเลี้ยงต้นและผลได้เต็มที่
การจัดการโรค-แมลง กลายเป็นเรื่องง่าย
ลุงสวาทบอกว่าเมื่อก่อนลงทุนค่าปุ๋ยและสารเคมีค่อนข้างหนักเพราะเมล่อนมีโรค-แมลงรบกวนอยู่ไม่น้อย ที่ต้องเจอประจำก็คือ เพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ทำให้เมล่อนยอดหงิก ใบด่าง ยอดเดินต่อไม่ได้ แต่การจัดการไวรัสในครั้งนี้ลุงสวาทใช้ แบล็คโมซ่า ทำให้เมล่อนไม่มีไวรัสรบกวนจึงเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ต้นแข็งแรง โรค-แมลงเข้าทำลายได้ยาก ส่วนแมลงอื่นๆที่มักเจอก็คือ หนอนชอนใบ ซึ่งลุงสวาทป้องกันโดยใช้ ไอซัคกิ้ง (สารป้องกันแมลงที่ปลอดภัย) ไอซัคกิ้งช่วยไล่แมลง และยังทำให้ใบเมล่อนหนาขึ้นหลังพ่นเพียง 2 วันเท่นั้น และใบจะหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบซึ่งเป็นแมลงที่มักระบาดดูดกินใบได้ยากขึ้น ซึ่งการป้องกันโรค-แมลง ลุงสวาทใช้เพียง แบล็คโมซ่า+ไอซัคกิ้งเท่านั้น พ่นอย่างต่อเนื่องทุก 10-15 วัน มีการพ่นสารเคมีไป 3-4 ครั้งเท่านั้นในช่วงที่แมลงระบาดหนักๆ ซึ่งใช้เพียงสารเคมีพื้นๆ ก็เอาอยู่แล้ว ไอซัคกิ้งยังมีข้อดีตรงที่ทำให้ใบเมล่อนหนาขึ้น จึงลดการเข้าทำลายของราน้ำค้างได้อีกด้วย ลุงสวาทบอกว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี่ต้องวิ่งหาซื้อยาดังๆ ยาราคาแพง ที่มีประสิทธิภาพสูงมาฉีดกันเลย ทำให้ต้นทุนค่าสารเคมีสูง แถมยังไม่รอดไวรัสอีกด้วย จึงไม่เคยสำเร็จอีกเลยหลังจากที่สำเร็จเพียงครั้งเดียวในครั้งแรก
16,000 ต้น ทำเงินไป 7 แสนกว่าบาท
เมล่อนสายพันธุ์ที่ปลูกอายุเก็บเกี่ยว 85 วัน ผลเมล่อนสวยจนลุงสวาทบอก ไม่น่าเชื่อว่าเมล่อนที่ผ่านไวรัสมาจะมาไกลได้ขนาดนี้ เมล่อนที่เก็บเป็นเกรดเอเกือบทั้งหมด ผลเมล่อนโตสม่ำเสมอเกือบทั้งแปลง มีขนาดลูกเล็กหรือ เกรด บี ไม่มาก โดยเกรดเอ น้ำหนักผล 1.3-2.5 กก. เกรด บี น้ำหนัก ต่ำกว่า 1.2 กก. โดยมีบริษัทเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงสวน เบอร์ เอ ราคา 50 บาท/กก. เบอร์ บี 30 บาท/กก. เมล่อนแปลงนี้ลุงสวาทได้เงินไปร่วม 7 แสนเลยทีเดียว แปลงนี้เก็บผลผลิตไปเมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานี้เอง คงไม่ต้องบอกว่าลุงสวาทจะดีใจขนาดไหน
วางแผนปลูกทุก 10 วัน ให้มีผลผลิตต่อเนื่อง
จากความสำเร็จในครั้งนี้ ลุงสวาทและพรรคพวกในกลุ่มมั่นใจที่จะเดินหน้าต่อกับเมล่อนอย่างเต็มที่ โดยวางแผนที่จะปลูกเมล่อนทุก 10 วัน ให้มีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง เดือนหนึ่งประมาณ 30-40 ตัน เป็นอย่างน้อย ซึ่งหลังจากแปลงลุงสวาทได้ตัดเมล่อน ก็มีแปลงแกนนำกลุ่มอีกคน นั่นคือ อาจารย์ปราโมทย์ ศรีทอง เก็บผลผลิตตามมาอีกในช่วงกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
ใครที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แวะไปเยี่ยมสวนหรือสั่งซื้อผลผลิตมาจำหน่ายก็ ติดต่อ ลุงสวาทได้ที่ 086-0866930
cr. Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร
ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ