มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ
ถ้าป้องกันตั้งแต่แรก...ก็หมดปัญหา และ ไม่ต้องย้ายที่ปลูก
โรคทางดินเป็นโรคที่ถูกมองข้ามความสำคัญมาโดยตลอด และต้องมาแก้ปัญหากันทีหลังตลอด โรคทางดิน เกิดจากเชื้อสาเหตุหลักที่พบเป็นประจำในประเทศไทย 6 ชนิด แบ่งเป็น เชื้อรา 5 ชนิด ได้แก่ Fusarium sp. Pythium sp. Sclerotium sp. phytopthora sp. Rhizoctonia sp. และ เชื้อแบคทีเรีย 1 ชนิด คือ Ralstonia solanacearun ชื่อเดิม Pseudomonas solanacearum ยาที่แนะนำกันส่วนใหญ่ก็จะมี เมทาแลกซิล ซึ่งเมทาแลกซิลควบคุมเชื้อได้หลายตัวแต่ ไม่ได้เชื้อ Fusarium sp. และเมทาแลกซิลใช้กันมานาน เชื้อเริ่มดื้อยา แต่ก็ยังมีการแนะนำกันอยู่เพราะเมทาแลกซิลมีการขายแพร่หลายที่สุดในร้านขายยา อีกตัวที่แนะนำ คือ เทอร์ราคลอร์ ดีกรีดีกว่า เมทาแลกซิล เพราะเป็นยาที่ใช้ได้กับเชื้อ Fusarium sp. ด้วย
ปัญหาโรคทางดินจากเชื้อราอาจจะไม่รุนแรงมากแต่ที่เป็นปัญหาก็คือ เชื้อแบคทีเรียทางดิน ซึ่งบ้านเรายังไม่มียาแบคทีเรียดีๆ สารที่แนะนำใช้ได้กับเชื้อแบคทีเรีย เช่น คอปเปอร์ในรูป อ๊อกซี่คลอไรด์ และ ไฮดรอกไซด์ สเตรปโตมัยซิน อ๊อกซี่เตตราไซคลิน เจนต้ามิซิน ซัลเฟต และ แบคบิเคียว และตอนนี้ก็มีสาร non-ionic หลายยี่ห้อแนะนำให้ใช้กับเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งก็จะแก้ปัญหาได้ถ้าพื้นที่ตรงนั้นมีเชื้อตัวอื่นอยู่ที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แต่ถ้าโชคร้ายพื้นที่ตรงนั้นมีเชื้อตัวนี้อยู่ ยาที่บอกมาก็แก้ไม่ได้ แล้วปัญหาโรคทางดินที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะทำอย่างไร พืชส่วนใหญ่ที่มักมีปัญหาจากโรคทางดินก็คือ พริก มะเขือเทศ แตง แคนตาลูป เมล่อน ขิง เผือก เป็นต้น และเราไม่รู้ว่าในดินของเรามีเชื้ออะไรอยู่
ส่วนใหญ่ที่แนะนำกันเวลาเจอโรคทางดิน ก็คือ ย้ายที่ปลูก ใส่ปูนขาวปรับสภาพดิน ปลูกพืชหมุนเวียน แต่สภาพความเป็นจริงไม่มีใครย้ายที่ปลูกได้ทุกคน และการย้ายที่แต่ละครั้งปัญหาเยอะ บางคนแนะนำให้ใช้ เชื้อไตรโคเดอร์มา ส่วนใหญ่จะไม่ได้ผล เพราะไตรโคเดอร์มา ใช้ได้กับเชื้อไฟทอปธอร่าเท่านั้นแต่เชื้อตัวอื่นแทบไม่ได้เลย และไฟทอปก็จะพบส่วนใหญ่ในดินพื้นที่ภาคตะวันออกมากกว่าที่อื่น ขณะที่ภาคอื่นจะพบเชื้ออื่นเป็นส่วนใหญ่
สิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องสอนให้เกษตรกรเรียนรู้ที่จะป้องกันตั้งแต่ก่อนปลูก เพราะเมื่อเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ลำต้นแล้ว ยาที่จะเข้าไปฆ่าเชื้อในลำต้นทำได้ยาก เพราะเราต้องฆ่าเชื้อที่ดิน ไม่ใช่ในลำต้น การพ่นสารฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียทางดินตั้งแต่ก่อนปลูกคือทางแก้ที่ดีที่สุด และไม่ต้องมาหาวิธีการแก้กันทีหลังค่ะ นี่คือสิ่งที่เกษตรกรต้องทำ ถ้าไม่อยากเจอ จะทำกันไหมค่ะ ส่วนใครที่ปลูกพืชไปแล้วโดยเฉพาะพืชยืนต้นและเจอปัญหา โรคนี้จะลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแปลงต้องราดยาที่ดินเพื่อฆ่าเชื้อในแปลงเพื่อรักษาต้นที่เชื้อยังไม่เข้าก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่งค่ะ แต่ถ้าไม่ทำอะะไรเลยต้นที่เป็นโรคจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และจากความรุนแรงและปัญหาของเชื้อทางดินที่พูดมายืดยาว เราจึงพัฒนายา ดีเฟนเตอร์ ขึ้นมา ที่สามารถตอบทุกโจทย์ของเชื้อทางดินได้ทั้งหมด รวมทั้ง เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่เป็นปัญหาและไม่มียาตัวไหนแก้ได้ คราวนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วว่า...คิดว่าคุ้มไหมที่จะป้องกันปัญหานี้ค่ะ
cr. Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร