จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ใกล้เข้ามาสำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC อย่างเป็นทางการ ปลายปี พศ. 2558 นี้ แน่นอน แต่ก่อนจะถึงวันเปิดอย่างเป็นทางการ ต้องหันมาดูในประเทศไทยด้วยว่ามีความพร้อมขนาดไหน ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจไทยมีความพร้อมแค่ไหนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือจะรอให้เพื่อนบ้านเข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากประเทศไทยอย่างเดียว
ในการณ์นี้ ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีคำแนะนำ การลงทุนภาคการเกษตรของไทยในอาเซียน ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและน่าสนใจ จึงนำรายละเอียดมาให้ติดตามกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นับตั้งแต่อดีตจากข้อมูลปี 2551 ถึง 2556 ไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ( Thai Direct lnvestment:TDI )ในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยุ่ในกลุ่มประเทศ CLMV เฉลี่ยถึงร้อยละ 44.70 สาขาการผลิตที่บริษัทไทยไปลงทุนมากที่สุดคือ เหมืองแร่และย่อยหินประมาณร้อยละ 46(สัดส่วนเสลี่ยปี 2551-2556 ) รองลงมาคือ ภาคการเงินและประกันภัยร้อยละ 24 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 16 การค้าและปลีกร้อยละ 13 ตามลำดับ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการลงทุนภาดการเกษตรของไทยในอาเซียนตามทฤษฎีสังเคราะห์ของดันนิง (Dnmming’ Eclectic Theory, 1993) ประกอบด้วย
1. ปัจจัยทางด้านทรัพยากร
2. ปัจจัยด้านโคลงสร้างพื้นฐานทางเศษฐกิจ
3. ปัจจัยด้านการเงิน
4. ปัจจัยทางด้านการค้าระหว่างประเทศ
5. ปัจจัยด้านภาษาและการสื่อสารทางการค้า
ดัชนีชี้วัดทรัพยากรมุนษย์ระหว่างประเทศ
ปัจจัยด้านกฎระเบียบและข้อตกลงทางการลงทุนระหว่างประเทศและปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจด้านอื่นๆ
การศึกษาศักยภาพการลงทุนภาคการเกษตรของไทยในอาเซียนและศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร โดยอาศัยการสร้างแบบจำลองแรงดึงดูด (Gravity Model) เพื่อวิเคราะห์การลงทุนในรูปมูลค่าการลงทุนของไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนอีก 9 ประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว ( percapita income ) ของประเทศกลุ่มอาเซียนอีก 9 ประเทศ มูลค่าการส่งออก ระยะทางระหว่างประเทศ ข้อผูกพัน สัญญาทางการค้า และตัวแปรอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า การลงทุนของไทยไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน จะแปรผันในทางเดียวกันกับขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว (per capita income ) ของประเทศกลุ่มอาเซียนอีก 9ประเทศ มูลค่าการส่งออก ข้อผูกพัน สัญญาทางการค้าต่างๆ ในขนาดที่แปรผกผันระยะห่างระหว่างประเทศ กล่าวคือ หากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลทำให้มีความต้องการการลงทุนจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.04ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลมีความต้องการการลงทุนจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 ในส่วนการส่งออกของไทยในยังประเทศในกลุ่มอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้การลงทุนของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 ระยะทางระหว่างประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1จากการลงทุนในประเทศไทยลดลงร้อยละ 1.29 (ระยะทางยิ่งไกล โอกาสที่จะไปลงทุนยิ่งมีน้อย) และหากมีข้อตกลงทางการค้าอยู่ก่อนก็จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้ไทยไปลงทุนในกลุ่มอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.77เช่นเดียวกัน
มาตรการและแนวทางการส่งเสริมการลงทุน
ภาครัฐ การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของไทยอย่างมีประสิทธิผลต้องอาศัยความร่วมมืออย่างบูรณาการจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แนวทางที่สำคัญนั้นภาครัฐควรมีบทบาทหลัก คือ การดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อการลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนโดยเฉพาะมาตรการทางภาษีควรขจัดเกรณ์การเสียภาษีที่ซ้ำซ้อน เพื่อการกระตุ้นในการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น พร้อมทั่งเพือการลดภาระและต้นทุนการบริหารจัดการของภาคเอกชนด้วย สนับสนุนเงินทุนแก่ธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารเพือการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย( EXIM Bank ) เพือให้ธนาคารมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับภาคเอกชนที่ต้องการการลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ธนาคารของรัฐต่างๆควรจะต้องเน้นความสะดวกด้านสือเชื่อและการเงินที่ครบวงจรแก่นักลงทุนมากขึ้นและมีการตั่งหน่วยงานกลางแบบ one-stop service ที่ทำหน้าที่เชิงรุกในการให้ความรู้ชี้แนะโอกาสทางธุรกิจ กลยุทธ์ในต่างประเทศ รวมทั้งช่วยจัดหาที่ปรึกษาทางธรุกิจ เพือช่วยให้คำแนะนำแก่ภาคเอกชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ และ/หรือ จับคู่นักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจในประเทศนั้นๆที่ทราบถึงกฎระเบียบหรือตลาดในประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างดี ทั่งนี้ แนวทางหนึ่งที่ทำได้เลยคือการสร้างคว่มสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับรัฐต่อรัฐ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีกฎระเบียบที่ซับซ้อนและเข็มงวด เพือช่วยสนับสนุนภาคเอกชนในการเจรจาด้านการลงทุนระหว่างประเทศ
ภาคเอกชน นักลงทุนไทยควรปรับตัวและเตรียมตัว ได้แก่ การรวมตัวของภาคเอกชนไทยเป็นคณะกลุ่มหรืออาจสร้างเป็นคสัสเตอร์เพือไปหาหรือโดยตรงกับหน่วยงานภาครัฐในประเทศเป้าหมาย จะได้รับความสนใจกว่าการออกไปเป็นรายบริษัทการเรียนรู้ในการบริหารจัดการการเสี่ยงทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งศึกษาข้อมูลหรือสภาพแวดล้อมของประเทศที่จะไปลงทุนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสังคมภาษา วัฒนธรรมและกฎระเบียบด้านการลงทุนของต่ละประเทศด้วย
แนวทางการลงทุนด้านการเกษตรในประเทศสมาชิกอาเซียน
กัมพูชา ธุรกิจที่น่าสนใจจากการลงทุนในกัมพูชาอาทิ การผลิตสินค้าการเกรษตรอินทรีย์ การผลิตสินค้าเกษตรด้วยใช้เทคโนโลยีทันสมัย การแปรรูปแปรสินค้าเกษตร โรงสีข้าว การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตร์น้ำ การทำฟาร์ม ปศุสัตว์สมัยใหม่ การปลูกผัก การทำธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร รวมทั่งธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
อินโดนีเซีย เน้นและให้ความสำคํญกับอุสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร เช่น อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ยางพารา ปลูกผักสวนครัว และการเพราะเลี้ยงชายฝรั่งเป็นต้น หากเป็นอาหารสำหรับการบริโภค ควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานฮาลาลอย่างเคร่งครัด
ลาว ธุรกิจการเกษตรที่ควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุน คือการผลิตและการแปรรูปสิ้นค้าเกษตร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เกษตรอินทรีย์ การแปรรูปจากป่า เช่น ลูกตากระป๋อง เครื่องใช้จากไม้ไผ่ สมุนไพร การผลิตปศุสัตว์ การทำประมงน้ำจืดในแม่น้ำโขง การผลิตและแปรรูปอาหารเป็นต้นรวมทั่งบริการทางการเกษตรโดยใช้เครื่องจักรกลขนาดเล็กใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ลาวมีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การรับรองมาตรฐานสิ้นค้า และการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร จึงจำเป็นต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก การดำเนินธุรกิจการเกษตรในลาวจะประสบปัญหาเรื่องแรงงาน ทั่งด้านจำนวนแรงงานทักษะฝือมือ ความกระตือรือร้นในการทำงาน และความไว้วางใจ และปฎิบัติต่อการลงททุนต่างชาติของทางการ สปป.ลาว จะมีความแตกต่างกัน เรื่องการติดและตัดสินใจแทนคนลาวเอง เช่น ว่าควรจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเพืออะไร ต้องให้เป็นความต้องการของคนลาวเอง เช่น การทำเกษตรตามความต้องการของคนลาวเองไม่ไช่ความต้องการของนักลงทุนเนืองจากเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากสำหรับคนลาว
มาเลเซีย การผลิตและแปรรูปอาหารที่เป็นโคลงการใหม่และ/หรือเป็นการขยายการลงทูนเพิ่มเติม เช่น โครงการผลิตอาหารฮาลาล การทำฟารม์เลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัย การแปรรูปไม้ยางพารา การส่งออกอาหาร ผลไม้และดอกไม้ เป็นต้น อุตสาหกรรมเกษตรจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บางส่วน โดยนำเงินเพียงร้อยละ 30 ของเงินได้ทั่งหลายมาคำนวนภาษีเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่มีผลผลิตออกจำหน่ายส่วนการลงทุนในเขตที่รุฐบาลส่งเสริมพิเศษให้ยกเว้นภาษีเงินได้ทั่งหมดเป็น เวลา 5 ปี
เมียนมาร์ มีนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาศักยาภาพของภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการลงทุนทางการเกษตร เช่น การปลูกมะนาว ปศุสัตว์ และประมง ตั้งแต่การผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต การแปรรุปสินค้าการเกษตร เพือตอบสนองความต้องการภายในประเทศ และการส่งออกสินค้าทางการเกษตรแปรรูปไปต่างประเทศ กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โดยมีข้อกำหนดด้านการลงทุนของชาวต่างชาติ โดยสาขาที่ต้องดำเนินกจิการร่วมกับชาวเมียนมาร์ในรุปแบบร่วมลงทุน ( Joint venture) รวมสาขาเกษตรด้านการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชผสม อนุญาติ อนุญาติให้ต่างชาติดำเนินกจิการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดและได้รับอนุญาตเห็นชอบจากหน่อยการหรือต้องร่วมทุนกับรัฐบาลหรือกำหนดให้เป็นไปตามมาตรการบางสาขา เช่น มาตรฐานด้านปศุสัตว์ และรุปแบบลงทุนต่างชาติลงทุน 100% แบบจัดตั้ง Joint Venture กับเอกชนสหภาพเมียนมาร์ร่วมลงทุนในรูปแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) และรูปแบบอื่นๆป็นต้น
ฟิลิปปินส์ ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ ประกอบกับยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมิได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ อาทิ สัตว์น้ำ สาหร่ายคาราจีนัน และพืชผลทางการเกษตรต่างๆ อุตสาหกรรมที่ควรลงทุน ได้แก่ การแปรรูปสินค้าประมงเช่น อาหารทะเลแช่แข็ง/กระป๋อง การแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น ผักผลไม้ บะหมี่ ขนมปัง กรอบ เครื่องดืมสุขภาพ เครื่องดืมบำรุงกำลัง และเครื่องปรุงรสต่างๆ
ใครสนใจลงทุนภาคเกษตรในประเทศไหนกควรจะศึกษากฎระเบียบต่างๆให้ดี ทั้งกฎหมายการค้า ภาษี ประเพณีวัฒนธรรม ที่สำคัญต้องเข้าใจวิถีชิวีตของแรงงานแต่ละประเทศเพือจะได้ไม่เกิดปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างของประเทศเหล่านั้น ศึกษาให้ดี ลงทุนกันให้มันส์รวยกันถ้วนหน้า.....