พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่
ReadyPlanet.com
dot
bulletโปรโมชั่น
bulletเข้าสู่ระบบ
bulletสมัครสมาชิก
การรับประกันสินค้า
dot
ตระกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
ค้นหาสินค้า

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า

  [Help]
dot
dot
อีเมล์

dot
หมวดสินค้า
เครื่องยนต์อเนกประสงค์
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องพ่นยา
เครื่องปั่นไฟ
ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ
เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
เครื่องเจาะดิน
เครื่องมือฮาร์ดแวร์
แม่แรงยกรถ
เอ็นตัดหญ้า กระปุกเอ็นตัดหญ้า
สินค้าอื่นๆ
line id @vigotech
แจ้งชำระเงิน
โปรโมชั่นประจำเดือน
clinton
กิจกรรมของบริษัท
วีดีโอการใช้งาน
รีวิวสินค้าจากลูกค้า
ข่าวเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ขนส่งเคอรี่ kerry
bulletเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
คู่มือการใช้งานเครื่องพ่นยาสะพายหลังแบตเตอรี่และมือโยก


เครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร


พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ article

พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู
ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่

แม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่ได้ผลักดัน ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานปลูก "ปาล์มน้ำมัน" อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนกับโครงการยางพาราล้านไร่ก็ตาม อีกทั้งยังมีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการถึงความเสี่ยงที่จะปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะความต้องการน้ำของปาล์มที่อาจส่งผลกระบถึงการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่อาจไม่สูงเทียบเท่าในถิ่นเดิมอย่างภาคใต้ รวมไปถึงเรื่องของโรงงานรองรับที่ยังเป็นข้อจำกัด แต่เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนไม่น้อยหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน และวันนี้หลายพื้นที่ปาล์มน้ำมันก็ได้ให้ผลผลิตกันแล้ว 
จากการสำรวจการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ปัจจุบันการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรได้ปลูกไปแล้วประมาณ 100,000 ไร่ กระจายอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ เลย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร

 

เยี่ยมสวนปาล์ม 100 ไร่ ของเกษตรกรดีเด่น จ.หนองบัวลำภู

สวนปาล์มพื้นที่ 100 ไร่ ที่ว่านี้ก็คือสวนปาล์มน้ำมันศศิกานต์ ของ คุณสมโภชน์ กุลสุวรรณ เกษตรกรคนแรกใน อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู.ที่หันมาปลูกปาล์มเมื่อ 5 ปีที่แล้ว วันนี้ผลผลิตปาล์มน้ำมันจากสวน "ศศิกานต์" กำลังให้ผลผลิตเต็มต้น ยืนยันว่าดินอีสานก็ปลูกปาล์มได้ ซึ่งผลสำเร็จทำให้เขาได้รับรางวัลชนะเลิศเกษตรกรสาขาทำสวนดีเด่นระดับ จ.หนองบัวลำภู ปี 2554 
คุณสมโภชน์ หนุ่มแดนใต้ อดีตนักศึกษาช่างกล สถาบันเทคนิคปทุมวัน กรุงเทพฯ กับก้าวเดินในฐานะเกษตรกรตัวอย่างบนดินแดนที่ราบสูง ผู้บุกเบิกผืนดินอีสาน หลังแต่งงานกับคู่ชีวิตชาว อ.ศรีบุญเรือง คุณสมโภชน์ได้เดินทางมาอยู่ที่บ้านแฟน และได้พลิกผืนดินกว่า 100 ไร่ ให้เป็นสวนปาล์มน้ำมันในชื่อสวน "ศศิกานต์" เป็นแห่งแรกของ จ.หนองบัวลำภู ด้วยหลักคิดที่ว่าผืนดินใดมีน้ำก็ทำการเกษตรได้
จากผลผลิตของสวนปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วในพื้นที่ 120 ไร่ ทำให้ปีนี้คุณโภชน์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่อีก 50 ไร่

 

ปลูกปาล์มในพื้นที่อีสานต้องเลือกพันธุ์ให้เหมาะสม

คุณสมโภชน์เองมีการศึกษาข้อมูลของสายพันธุ์ปาล์มอย่างละเอียดเช่นกัน ก่อนที่จะเลือกปาล์มพันธุ์ "คอมแพคไนจีเรีย” มาปลูก ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่เป็นปาล์มที่เจริญเติบโตในพื้นที่แห้งแล้งอย่างไนจีเนียได้เป็นอย่างดี นับเป็นปาล์มที่ทนต่อต่อความแห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อยกว่าพันธุ์อื่น เป็นต้นปาล์มที่ต้นเตี้ย ทางใบสั้น และให้ผลผลิตสูง โดยผลผลิตของปาล์มพันธุ์นี้ในช่วงที่ให้ผลผลิตเต็มที่ (7 ปีขึ้นไป) จะให้ผลผลิต 5-5.6 ตัน/ไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับพันธุ์ของยูนิวานิช ขณะที่ปาล์มพันธุ์สุราษฏร์ธานี 1 ให้ผลผลิต 3.4 ตัน/ไร่ สุราษฏร์ธานี 2 ให้ผลผลิต 2.9 ตัน/ไร่ จึงนับว่าคอมแพคไนจีเรียเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่แห้งแล้งอย่างอีสาน โดยคุณสมโภชน์สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศในรูปแบบเมล็ดพันธุ์บรรจุแคปซูลอย่างดี ในราคาเมล็ดละ 100 บาท จำนวน 3,000 เมล็ด มาเพาะเมล็ดเป็นต้นพันธุ์เอง ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การงอก 100% ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จึงนำไปปลูกในพื้นที่ 120 ไร่ ในปี พ.ศ. 2548

 

การจัดการน้ำและปุ๋ยในสวนปาล์ม

ปาล์มที่สวนจะใช้ระยะปลูก 8x8.5 เมตร หรือ 1 ไร่ ประมาณ 24 ต้น การดูแลรักษานั้น ปาล์มน้ำมันถือว่าเป็นพืชที่ดูแลง่าย ที่นี่จะให้ปุ๋ยปาล์มปีละ 2 ครั้งในช่วงต้นฝนประมาณเดือน พ.ค. โดยจะให้ปุ๋ย 6 กก./ต้น ใช้ปุ๋ย 3 สูตร คือ 21-0-0 จำนวน 2 กก. 0-0-60 จำนวน 2 กก. และ 14-7-25 จำนวน 2 กก. คลุกเคล้าแล้วใส่ให้กับต้นปาล์ม ปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้ปลายฝนประมาณเดือนกันยายน ใช้สูตรเดิมแต่ลดปริมาณปุ๋ยลงชนิดละครึ่งกิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ให้ปีละครั้ง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดบ้าง ปุ๋ยมูลค้างคาวบ้าง ปริมาณการให้ต่อปี 5 กก./ต้น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยโบรอนโดยจะใส่ก่อนฝน 2 ครั้งๆละ 2-3 ขีดต่อต้น ซึ่งโบรอนมีความจำเป็นในการให้ผลผลิตของปาล์ม โบรอนช่วยกระตุ้นให้เกิดตาดอก และตายอด ทำให้การผสมเกสรสมบูรณ์แบบ เมื่อขาดโบรอน ปาล์มจะมีลักษณะปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ ใบหยิกเป็นคลื่น ยอดหัก ทางและใบย่อยเรียวแหลม สั้นผิดปกติ ดอกตัวเมียน้อย การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง
การให้น้ำที่นี่วางแผนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การขุดสระที่สามารถจุน้ำได้ถึง 10,000 ลูกบาศก์เมตร และขุดบ่อบาดาลอีก 2 จุด วางระบบน้ำสูงถึงไร่ละ 15,000 บาท – 20,000 บาท โดยวางท่อให้สามารถควบคุมการให้น้ำได้ทั่วทั้งแปลงโดยจะมีวาล์วเพื่อปล่อยน้ำเป็นจุดๆ ละ 4 ไร่ ระบบให้น้ำใช้หัวพ่นเจ็ทสเปรย์ติดตั้งต้นละ 2 จุด แต่ละหัวมีอัตราการให้น้ำ 100 ลิตร/ชั่วโมง การให้น้ำแต่ละครั้งจะให้ครั้งละ 1 ชม. ซึ่งปาล์มจะได้รับน้ำ 200 ลิตรต่อต้นต่อครั้ง( 1 ต้น มีหัวพ่น 2 หัว อัตราการให้น้ำหัวละ 100 ลิตร/ชม.) โดยการให้น้ำจะให้ช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.ที่ฝนทิ้งช่วงและแห้งแล้ง ปริมาณการให้น้ำในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ จะให้ 4 ครั้งๆละ 200 ลิตร/ต้น เดือนมีนาคมอากาศเริ่มร้อนขึ้นเพิ่มการให้น้ำเป็น 6 ครั้ง เดือนเมษายนแห้งแล้งที่สุดเพิ่มการให้น้ำเป็น 8 ครั้ง ทำให้ปาล์มน้ำมันไม่ขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งและสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ ซึ่งคุณสมโภชน์มองว่าน้ำและปุ๋ยมีผลมากต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน เกษตรกรต้องเข้าใจ
นอกจากนี้ก็จะมีการตัดแต่งกิ่งอย่างเหมาะสม ปาล์มน้ำมันพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือพันธุ์เตี้ย ทางใบสั้น การตัดแต่งกิ่งจึงได้ทำง่าย ซึ่ง 1 ต้นจะต้องมีทางใบ ประมาณ 42-48 ทางใบ เพื่อรักษารูปทรงต้นให้มีความสมดุล เนื่องจากทางใบจะช่วยดึงขยายต้นปาล์มน้ำมันให้ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นปาล์มแข็งแรง ทะลายอุดมสมบูรณ์ ที่นี่โชคดีที่ไม่มีปัญหาโรค-แมลงมากเหมือนทางใต้ จึงแทบไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัด

การให้ผลผลิตและการจำหน่ายผลผลิต

โดยปกติแล้วปาล์มจะเริ่มออกดอกให้ทะลายเมื่ออายุประมาณ 27-28 เดือนหลังปลูก แต่ควรจะดึงดอกทิ้งก่อนเพื่อเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ก่อน โดยจะปล่อยให้ออกดอกหรือออกทะลายเมื่อปาล์มอายุ 48 เดือน และจะสามารถเก็บเกี่ยวปาล์มทะลายแรกได้ประมาณ 51 เดือน ในรอบ 1 ปี ปาล์มจะสามารถเก็บเกี่ยวทะลายได้ประมาณ 8-9 เดือน โดยช่วงแล้งตั้งแต่ต้นปี-เดือนพฤษภาคม จะตัดทะลายทุก 20 วัน ช่วงฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิ้นปี จะตัดทะลายทุก 15 วัน ปริมาณการตัดทะลายต่อรอบประมาณ 22-25 ตัน โดยจะตัดทะลายปาล์มทีเดียวทั้ง 100 ไร่ ซึ่งจะใช้เวลาตัดประมาณ 3-5 วันต่อครั้ง ใช้คนตัด 6-7 คน วิ่งเข้าโรงงานประมาณ 2 เที่ยว ผลผลิตทะลายปาล์มจำหน่ายให้กับบริษัท สุขสมบูรณ์ปาล์ม จำกัด ที่ชลบุรี ซึ่งมีเครือข่ายรับซื้ออยู่ในพื้นที่อีสาน โดยราคาปาล์มตอนนี้อยู่ที่ 5.40 บาท/กก. ทางสุขสมบูรณ์จะนำรถสิบล้อเข้ามารับทะลายปาล์มถึงสวน โดยหักค่าขนส่งทะลายปาล์ม 1 บาท/กก. แต่คุณสมโภชน์จ่ายค่าขนส่งเพียง 70 สตางค์/กก. ทางโรงงานช่วยออกค่าขนส่งอีก 30 สตางค์ เนื่องจากปาล์มที่สวนให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูง โดยมีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 24-26 % ขณะที่ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์เดิมๆ ที่ปลูกกันเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพียง 18-20 % เท่านั้น น้ำหนักต่อทะลายมีตั้งแต่ 6 กก.ถึง 18 กก. โดยปาล์มคอมแพ็คไนจีเรียที่สวนอายุ 5 ปีเศษมีปริมาณการให้ผลผลิตที่ 4.1-4.2 ตัน/ไร่ และคาดว่าในปีที่ 7 จะมีปริมาณการให้ผลผลิต 5-5.6 ตัน/ไร่

ปาล์มน้ำมันในผืนดินอีสานน่าจะเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรในแถบนี้ที่น่าจะมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากราคาและผลตอบแทนที่จูงใจ เมื่อก่อนปาล์มน้ำมันราคา 1.20-1.50 บาท/กก. ปี 55-56 ราคาปาล์ม 5-6 บาท/กก. แต่มาปีนี้ราคาปาล์มตกลงมาเหลือ 4.30-4.50 บาท หากเทียบกับยางพาราแล้วคุณสมโภชน์มองว่า ปาล์มน้ำมันมีความได้เปรียบกว่ามาก ทั้งการดูแลจัดการที่ต่ำกว่า ที่สวนปาล์มแห่งนี้ พื้นที่ 150 ไร่ ใช้คนงาน 6 คน ปาล์มเดือนหนึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิต 2 ครั้ง แต่ยางพาราต้องกรีดทุกวัน กรีดตอนเช้ามืดและต้องทำยางแผ่นตอนกลางคืนเป็นงานที่หนักและเหนื่อยมาก ต้องแบ่งผลประโยชน์กับคนกรีดอย่างละครึ่ง ยิ่งกว่านั้นผลผลิตยางที่ได้ก็ต่ำกว่าทางใต้มาก ปริมาณน้ำยางที่ได้ จำนวนวันกรีดก็น้อย ยังจะปัญหาการเจริญเติบโตจากสภาพความแห้งแล้งอีก ยางปลูกใหม่เมื่อเจอสภาพที่แห้งแล้งมากยอดจะหักพับลงมา เสียหายเยอะ อีกทั้งกว่าที่ยางจะโตมีขนาดลำต้นได้มาตรฐานที่กรีดได้ต้องใช้เวลาเกือบ 8 ปี ซึ่งชาวสวนมักจะรอไม่ไหวและกรีดยางก่อนกำหนดกันเป็นส่วนใหญ่ นี่คือคำตอบของคนที่ปลูกยางพารามากถึง 80 ไร่ ที่ตอนนี้ยางอายุ 18 ปีแล้ว ซึ่งคุณสมโภชน์บอกว่า คงจะรื้อยางแปลงนี้ออกแล้วลงปาล์มแทนหลังจากที่ได้คำตอบในหลายๆเรื่องของปาล์มและยางที่เขาสัมผัสด้วยตัวเอง

ปัจจุบันสวนศศิกานต์เป็นแหล่งผลิตกล้าปาล์มคุณภาพที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร โดยผลิตกล้าปาล์ม 2 สายพันธุ์ คือ โกลเด้น เทเนอร่าและคอมแพ็คไนจีเรีย และปีหน้าจะเพิ่มกล้าปาล์มอีก 2 สายพันธุ์ คือ เดลี่ กาน่าและเดลี่ ลาแมร์ โดยจะนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศทั้งหมด จึงมั่นใจได้ว่าเป็นพันธุ์แท้และคุณภาพดี

วันนี้ที่นี่...เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่สนใจของจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอื่นๆ ที่สนใจปลูกปาล์มได้เข้ามาดูงานกันไม่ขาดสาย หากเกษตรกรท่านใดสนใจที่จะศึกษาข้อมูลหรือดูงานสามารถติดต่อได้ที่คุณสมโภชน์ กุลสุวรรณ บ้านนาทับควาย ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โทร.085-4590539 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง โทร.0-4235-3764

 

Rakkaset Nungruethail  รักษ์เกษตร  

 

 




ข่าวเกษตรน่ารู้

เทคนิคการปลูกและวิธีเพาะพันธุ์ผักหวานป่า ให้เจริญงอกงาม
การปลูกไผ่ตง พืชอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ เป็นที่ต้องการของตลาด
วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีรสชาติหวานกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ
วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยพืชสด
การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีทำ สารกำจัดศัตรูพืช น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)
วิธีทำ สมุนไพรขับไล่แมลง แบบต่างๆ
การเลี้ยงกบ เพื่อเลี้ยงชีพ และ การเตรียมบ่อพัก
6 ขั้นตอน การทำนาข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษ
ขั้นตอนวิธีทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยตนเอง
ขั้นตอนวิธีทำ การเผาถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน
น้ำสกัดชีวภาพ คืออะไร และการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
งานเกษตรแฟร์ 2563 นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน
เกษตรกรจังหวัดพะเยา "ปลูกแตงโม" บนเนื้อที่ 13 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 300,000
เกษตรกร จ.ราชบุรี จับกลุ่มปลูกองุ่นไร้เมล็ด เชิญชวนชิมสดจากไร่
เห็ดมิลค์กี้ พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เสริม กก. ละ 1,000 บาท เพาะง่ายรายได้ดี
งานเกษตรแฟร์ 2562
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
งานเกษตรแฟร์ 2561 กับแนวคิดร่วมกันก้าวไป วันที่ 26 ม.ค. - 3 ก.พ article
คึกคักสุดๆ!! ชมชิมช้อป ทุเรียน มังคุด ชั้นหนึ่ง เมืองจันท์
ถั่วพู ผักพื้นบ้านปลูกง่ายสร้างรายได้งาม ดีกว่าถั่วเหลือง
ปลูกเมลอนขายในโซเชียล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า!
เทปน้ำหยด นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร
[อบรมฟรี] สวนเกษตรดาดฟ้าหลักสี่อบรมฟรี ปลูกผักปลอดสารพิษ
เทคนิคการปลูกพืชคลุมดิน
Review ตลับเอ็นตัดหญ้า จากการใช้งานจริง by Alcidini Winery ไร่ไวน์อัลซิดินี่
งาน Organic & Natural Expo 2015
เห็ดโต่งฝน เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่จากประเทศเพื่อนบ้าน
ผักบุ้งแก้ว 2 ไร่ เก็บขายได้วันละพัน article
เยี่ยมไร่เมล่อนกำแพงแสน ดูเทคนิคการผลิตเมล่อนให้หวานอร่อย
เกษตรกรเมืองโอ่งเพาะเห็ดหูหนูขาย สร้างรายได้กว่าหมื่นบาทต่อวัน article
เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ article
มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ เปรี้ยวอย่างมีสีสันเพิ่มมูลค่าอาหารให้ดูไฮโซ article
ชมพู่ทับทิมจันท์....สวนดังของราชบุรี ชมพู่คุณภาพส่งจีน article
เยี่ยมสวนฝรั่ง..มืออาชีพที่บ้านแพ้วเงินล้านจากฝรั่งทำไม่ยาก article
กล้วยตัดใบแหล่งใหญ่ของประเทศ พื้นที่ปลูกนับ 10,000 ไร่ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก article
ปลูกข่าเหลือง พืชเศรษฐกิจทำเงินที่น่าลงทุน ปลูกง่าย รายได้ดี 5-8 หมื่นบาท/ไร่ article
พังกาลอดฟาร์ม...พลิกฟื้นชาวสวนยาง ด้วยธุรกิจนกกระทาผลิต 80,000 ตัว/เดือน article
วิธีปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์ article
วิธีการปลูกผักบุ้งจีน ผักแคลเซียมสูง ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว article
วิธีการปลูกผักชี ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
วิธีปลูกข้าวโพดสีม่วง ปลูกง่าย รายได้ดี article
ปลูกผักคะน้าเกษตรอินทรีย์ ขายดี ราคาดี ไม่มีคู่แข่ง article
ขนุนทวาย พันธุ์ปิยะมาดา เปลือกบางยางน้อย ให้ผลดก article
เพาะพันธุ์สับปะรดสี ใช้พื้นที่น้อย รายได้ดี ปลูกง่าย รายได้หลักหมื่น article
กุ้งก้ามแดง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในนาข้าว กก.ละ 400-500 บาท อาชีพพลิกฟื้นฐานะของชาวนาไทย article
มาริสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
การปลูกมะม่วงในวงบ่อปลูกไม่ยาก ให้ผลผลิตดี article
‘สาคู’พืชเศรษฐกิจช่องทางรวยของภาคใต้ article
เกษตรในเมือง....ปลูกผักบนดาดฟ้าอาคารสำนักงานแบบ DIY article
การปลูกพริก และประโยชน์ของพริก article
เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน article
เทคนิคการปลูกผักในร่ม ใต้โคนต้นไม้ใหญ่ article
โรคผลเน่าของแคนตาลูป article
ทำไมบางคนใช้ยาแล้วได้ผล บางคนไม่ได้ผล ทั้งที่มันเป็นยาตัวเดียวกัน ?? article
การปลูกผักหลังน้ำท่วม article
การอนุรักษ์ดินบนพื้นที่ลาดเท article
วิธีพัฒนาที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง article
สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
ปลูกตะไคร้ ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน article
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว article
เผือกหอม พืชหลังนา สร้างรายได้งามของคนบ้านหมอ สระบุรี article
ปลูกแตงกวา ระบบน้ำหยด ที่ไร่ “ศุภโชค หินเบี้ย” จ.เพชรบูรณ์ article
อะโวคาโด...พืชเศรษฐกิจนอกสายตา ตลาดต้องการสูง ราคาแพง 50-60 บาท/กก. article
สวนกายกานต์ ….ปลูกตะไคร้กว่า 100 ไร่ ป้อนตลาดครบวงจร ทั้งกินสด ส่งโรงงาน ส่งออก อาทิตย์ละ 10 ตัน article
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้นท้ายไร่ ที่พิจิตร article
ลูกหม่อน อีกหนึ่งพืชเพื่อสุขภาพกระแสแรง article
เห็ดแครง…เห็ดเศรษฐกิจมาแรง ราคาแพง 150-200 บาท/กก. ตลาดต้องการสูง article
แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่นแห่งใหม่ พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ปลูก 7 จังหวัด article
เกษตรกร กำแพงแสน ปลูกกระชายส่งขาย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี article
มะนาวแป้นพิจิตร เน้นทำนอกฤดู ขายช่วงแพง ฟันกำไร article
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน article
ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์100 ไร่ ผลผลิตกว่า 1,500 ตัน article
ปลูกแก้วมังกร 1,500 ไร่ สร้างรายได้มหาศาล
เยี่ยมสวนมะกรูด ผลิตใบมะกรูดคุณภาพป้อนตลาดส่งนอก
หน่อไม้ฝรั่งส่งญี่ปุ่น ทำเงินสะพัด พลิกฐานะชั่วข้ามปี article
กุยช่าย พืชทำเงินของคนเมืองโอ่ง
ต้นเหตุของดินเสื่อม article
ปลูกหญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ ช่วยรักษาหน้าดินและสิ่งแวดล้อม article
จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC article
ราคาผัก ผลไม้กำหนดจากอะไร…ทำไมราคาจากสวนจึงต่างจากราคาตลาดมาก article
มาริสสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
เทคนิคผลิตเมล่อนเกรดพรีเมี่ยม ส่งแม็คโครสัปดาห์ละ 2 ตัน article
เยี่ยมสวนมะพร้าวน้ำหอมส่งนอก 60 ไร่ สร้างอาชีพยั่งยืนนานกว่า 20 ปี article
ปลูกแตงกวาไร่เดียว ฟันเงินกว่า 70,000 ลงทุนแค่ 13,000 article
ปลูกดอกสลิดสร้างรายได้ช่วงหน้าหนาวราคาพุ่ง กก. 120-130 บาท article
เทคนิคเพาะเห็ดนางฟ้าขายช่วงราคาแพง จากสมบูรณ์ฟาร์ม จ.ขอนแก่น article
มันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต article
โกลบอล ออร์แกนิคส์ ส่งมะละกอป้อนห้างวันละกว่า 10 ตัน article
ธ.ก.ส ปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกรแก้หนี้นอกระบบ article
พริกไทย..พืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้นับล้าน ที่สุโขทัย article
วิเคราะห์ตลาดมะละกอสุกก่อนลงทุน article
มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ article
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ นับ 1,000 ไร่ article
ขนุน...พืชทำเงินของชาว จ.ระยอง ส่งออกต่างประเทศ article
มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ article
พุทราสามรส… พืชทำเงินที่หลายคนมองข้าม ทำเงินปีละ 1.5-2 ล้านบาท article



Copyright 2020 S.P. HARDWARE IMPORT EXPORT Co.,Ltd. All rights reserved.