สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากจะมีแหล่องท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อและสวยงามมากมายทั้งอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าหว้ากอ หาดหัวหิน เขาตะเกียบ-เขาไกรลาส ฯลฯ แล้ว ยังเป็นพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดแหล่งใหญ่ของไทยอีกด้วย คือ ที่นั้นมีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากถึง 6 แสนไร่ ผลผลิตรวมกว่า 1.3 ล้านตัน/ปี ผลผลิตสับปะรดที่ได้จะถูกส่งเข้าแปรรูปเพิ่มมูลค่าในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดเพื่อการส่งออกมากถึง 90% ส่วนที่เหลือก็จัดส่งป้อนตลาดบริโภคภายในประเทศ
การปลูกสับปะรดของชาวไร่และอุตสากรรมแปรรูป ผลผลิตสับปะรดที่นี่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง สร้างยอดการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปไทยไปต่างแดนทะลุเป่าทุกปี ทำให้ประเทศไทย คลองแชมป์ผู้ส่งออกสับปะรดแปรรูปรายใหญ่ของโลกตลอดมา ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีธุรกิจโรงงานแปรรูปสับปะรดอยู่มากกว่า 20 โรง และ 1 ในนั้นก็คือ “บริษัท สามร้อยยอด จำกัด” ที่เกษตรโฟกัสจะพาไปสัญจรเยี่ยมชมโรงงาน โดยมี คุณสุวิทย์ มุนิลทรวงศ์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ของบริษัทฯ ให้การต้อนรับและนำชมโรนงงานพร้อมบรรยายให้ทีมงานเกษตรโฟกัสฟังว่า บริษัท สามร้อยยอด จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2521 โดยคุณผิน ธนะกมลประดิษฐ์ ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ อำเภอสามร้อยยอด เริ่มต้นก่อตั้งด้วยต้นทุน จดทะเบียน 3 ล้านบาท นับถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 35 ปี ต้นทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านบาท ในยุคเริ่มต้น ทางคุณผินได้เห็นว่าในพื้นที่สามร้อยยอดมีการปลูกสับปะรดมา จึงมีแนวคิดที่จะแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นมีนักธุรกิจจากใต้หวันมาให้คำแนะนำเรื่องเอนไซม์ ในเหง้าสับปะรด ว่ามีประโยชน์และสรรพคุณทางยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคได้ เมื่อเร็งเห็นโอกาสทางธุรกิจเช่นนั้น คุณผินจึงได้เอาเทคนิคต่างๆ จากประเทศใต้หวันและซื้อเครื่องจักร (เก่า) มาดำเนินการผลิตเอนไซม์จากเหง้าสับปะรด
แต่อย่างไรก็ตามภายหลังเดินเครื่องทำการผลิตเอนไซม์สับปะรดไปได้ระยะหนึ่ง ก็พบความจริงว่า เอนไซม์สกัดจากเหง้าสับปะรดนั้นมีหลายเกรด และเอนไซม์ที่ทางโรงงานสามร้อยยอดทำอยู่ก็มีต้นทุนสูงเกินไปไม่คุ้มค่ากับราคาขาย คุณผินจึงมีแนวความคิดใหม่ที่จะต่อยอดธุรกิจเดิมโดยได้เปลี่ยนจากโรงงานผลิตเอนไซม์สับปะรดมาเป็นโรงงานผลิตสับปะรดอบแห้งโดยนับเป็นโรงงานสับปะรดอบแห้งในอันดับต้นๆของประเทศ
อย่างไรก็ตาม การทำสับปะรดอบแห้งมีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบคือผลผลิตสับปะรดของชาวไร่ในพื้นที่ก็มีมาก จึงหันไปทำสับปะรดแช่แข็งเพื่อส่งออกญี่ปุ่นอีกทางหนึ่ง แต่หลังจากเราเปิดทำสับปะรดแช่แข็งไปได้ระยะหนึ่ง ความต้องการของตลาดต่างประเทศก็ลงน้อยลง เพราะคู่แข่งสับปะรดกระป๋องของญี่ปุ่นมีมากขึ้น อีกทช่วงเวลานั้น ในประเทศไทยก็เริ่มมีการผลิตสับปะรดกระป๋องส่งออกบ้างแล้วด้วย โดยสับปะรดกระป๋องของไทยถือว่ามีรสชาติดีกว่าของญี่ปุ่น และชาติอื่นๆ มากแต่เนื่องจาก เราส่งสินค้าสับปะรดแช่แข็งไปญี่ปุ่นได้น้อยลงโรงงานจึงเริ่มหยุดการผลิต
จนกระทั่ง เมื่อปี 2537 คุณพิบูลย์ สุกิจปาณีกิจ ซึ่งเป็นลูกเขยของคุณผิน (ปัจจุบันเป็นประธานบริษัทฯ) ก็ได้เข้าเทคโอเว่อร์ซื้อกิจการทั้งหมด และก็ได้มาสร้างโรงงานขึ้นใหม่เพื่อผลิตสับปะรดกระป๋องตามกระแสที่กำลังมาแรง ดำเนินงานอยู่ 1 ปี ก็สามารถส่งออกได้ใหม่ แต่ในปี 2540 มีพายุรินดาพัดเข้าถล่มจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏว่าโรงงานทั้งสองแห่งเจอพิษพายุพังหมดหลังมหรรตภัยทางธรรมชาติครั้งนั้น จึงย้ายโรงงานมารวมกันอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน
“ต่อมาเมื่อปี 2546 ทางบริษัทเราได้สำรวจพบว่าที่จังหวัดตราด ก็มีการปลูกสับปะรดเยอะ แต่ยังไม่มีโรงงานสับปะรด เราจึงได้ไปตั้งโรงงานอีกแห่งที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ชื่อบริษัท สมิงฟูดส์ จำกัด และในปี 2548 ได้ร่วมทุนกับบริษัท เจเวลเต้ แห่งเอเชีย จดทะเบียนตั้งชื่อ บริษัทฯใหม่ ชื่อว่า บริษัท สยามเจเวลเต้ จำกัด ดำเนินการผลิตสับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดบรรจุกล่องเพื่อส่งออกและในปีถัดมาคือปี 2549 เราได้ร่วมทุนกับบริษัท ซีซ่าร์ ฟูดส์ จากนิวซีแลนด์ ผลิตสับปะรดบรรจุถุงเพราะสับปะรดบรรจุกระป๋องทางตลาดยุโรปเริ่มมีการกีดกัน ด้วยเหตุผลว่าวัตถุพวกกระป๋องเพื่อเปิดทิ้งเป็นขยะแล้วกำจัดได้ยาก เราจึงพยายามเปลี่ยนแพคเก็ตจิ้งค์มาเป็นถุงหรือกล่องแทน โดยได้ดำเนินการมาถึงปัจจุบัน “คุณสุวิทย์ กล่าว
คุณสุวิทย์กล่าวต่อว่า บริษัทสามร้อยยอดจำกัด แยกโรงงานผลิตออกเป็น 2 แห่ง เเต่มีการบริหารจัดการร่วมกัน คือ แห่งแรกทำผลไม้อบแห้ง ยอดการผลิตอยู่ที่ 4,800 ตัน/ปี ส่วนอีกแห่งผลิตสับปะรดกระป๋องมีกำลังผลิตอยู่ที่ 1ล้าน 8 แสนแพคต่อปี (1 แพค มี 24 กระป๋อง”กระป๋องละ 20 ปอนด์) ส่วนวัตถุดิบที่นำเข้าไลด์การผลิตเฉพาะสับปะรดสดประมาณ 600ตัน/วัน
นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ร่วมอยู่อีกหลายตัว ที่ล้วนแล้วแต่ช่วยผลักดันยอดขายและสร้างผลกำไรบริษัทให้พุ่งกระฉูด ได้แก่ น้ำสับปะรดเข้มข้นกำลังผลิต 9,000 ตัน/ปี เว้นผลไม่แช่แข็งกำลังผลิต 6,000 ตัน/ปี และผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ก็ผลิตได้มากถึงกว่าวันละ 70 ตัน หรือปีละ 5 แสนแพค โดยมียอดการส่งออกจำหน่ายตลาดต่างประเทศทั่วโลก มูลค่าสูงถึง 1พันล้านบาท/ปีเลยทีเดียว
ปัจจุบัน บริษัทสามร้อยยอด มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดอย่างครบวงจร คือ มีทั้งสับปะรดกระป๋องสับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำสับปะรดเข้มข้น ตามด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอื่นๆ คือ ว่านหางจระเข้ และผลไม้อบแห้งต่างๆซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกตัวจะมีกระบวนการผลิตเริ่มต้นที่คล้ายๆกัน โดยจะมีความพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบ ควบคุมระบบและกระบวนการผลิตการจัดการตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผ่านไลน์ผลิตออกมาแล้ว ไปจนถึงการเก็บสต๊อกสิน้คา บรรจุหีบห่อ และขนส่ง ทุกขั้นตอนจนมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพให้ได้ค่าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด อันเป็นไปตามนโยบายคุณภาพของบริษัทฯคือ “คุณภาพได้มาตรฐาน ที่เน้นด้านสุขอนามัย ใส่ใจเรื่องกฎหมาย ไม่เสื่อมคลายจริยธรรม เลิศล้ำความปลอดภัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน สร้างสรรค์พัฒนายั่งยืน” โดยแนวยโยบายที่บริษัทตั้งไว้ได้ครอบคลุมในทุกระบบบริหารคุณภาพคือ มอก. GMP HACCP BRC IFF ISO 22000:2005 และ HALAL ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บริษัทได้รับมอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ คือ “รางวัลอุตสากรรมดีเด่น ประกอบการบริหารอุตสากรรมขนาดกลางและขนาดย่อมประจำปี 2554” จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา
“บริษัท สามร้อยยอด เป็นผู้ผลิตผลไม้แปรรูปรายใหญ่ จึงเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญจากเกาตรกร โดยเฉพาะสับปะรดด้วยแล้ว จะสามารถรับซื้อได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังให้ความร่วมมือกับรัฐ ช่วยรับซื้อและระบายผลผลิตออกจากระบบผลผลิตออกจากระบบให้เกษตรกรในช่วงที่ราคาขายผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ตามนโยบายพยุงราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาลด้วย อย่างเช่นในช่วงปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาผลผลิตสับปะรดล้นตลาด ทางบริษัทก็ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานจังหวัด ช่วยรับซื้อผลผลิตสับปะรดทุกเกรดจากเกษตรกรเพื่อแปรรูปเป็นน้ำสับปะรดเข้มข้น แล้วนำสินค้าที่แปรรูปได้เข้าสู่ระบบจำนองกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่สนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร” คุณสุวิทย์กล่าว
แผนรับมือค่าแรง 300 บาท และการเตรียมพร้อมกับ AEC
คุณสุวิทย์กล่าวถึงนโยบายปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท/วัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ถือว่ามีผลต่อต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ มากทีเดียว เพราะจากเดิมเมื่อปีที่แล้วทางบริษัทก็ได้ปรับค่าแรงพนักงานจาก 170 บาท เพิ่มให้เป็น 240 บาทต่อวันมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อต้องมาปรับขึ้นอีกเป็น 300 บาท บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องหาทางรับมือกับภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งสิ่งแรกที่ทำทันทีก็คือ เน้นประสิทธิภาพในการทำงาน โดยแต่ละแผนกต้องเร่งทำให้เสร็จในแต่ละวันส่วนเรื่อง OT หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องชะลอไว้ นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนลงทุนใช้เครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคนด้วย ถึงแม้ว่าต้นทุนเครื่องจักรจะค่อนข้างสูงในเบื้องต้นก็ตามแต่เมื่อเทียบเท่ากับประสิทธิผลการทำงานและผลงานที่ได้รับแล้วถือว่าคุ้มมาก พูดง่ายๆคือคนต้องลดลง
และอีกมาตรการหนึ่งต่อมา ที่โรงงานแปรรูปสับปะรดทุกแห่งในพื้นที่ทำกันคือ การขอปรับเพิ่มราคาขายเพราะปัจจุบันตลาดต่างประเทศทราบดีว่า ต้นทุนผลิตในเมืองไทยเรานั้นไม่ได้ถูกเหมือนเดิมแล้ว และเมื่อต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น การปรับเรื่องราคาขายก็ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม
ส่วนแผนรับมือการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทฯ มองว่าการเกิดขึ้นของ AEC ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ เพราะบริษัททำธุรกิจแปรรูปสินค้าเพื่อการส่งออกอยู่แล้ว หาก AEC เกิดขึ้นจริงโอกาสขยายธุรกิจออกไปก็จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของแผนการที่บริษัทจะเข้ามาขอสัมปทานพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานในเครือสามร้อยยอด นั้นถือเป็นก้าวที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตของบริษัทออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นการสร้างฐานการยอมรับการขยายตัวด้านการลงทุน คือ การตั้งสาขาบริษัทแปรรูปสินค้าเกษตรกรแห่งใหม่ในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
สนใจข้อมูลทางธุรกิจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท สามร้อยยอด จำกัด สำนักงานกรุงเทพฯ 1381 ซอยลาดพร้าว 94 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2934-5459 สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ : 142/1 หมู่ 6 ตำบลศาลาไล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77180 โทร. 0-3268-4234 www.samroiyod.com