เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน
ReadyPlanet.com
dot
bulletโปรโมชั่น
bulletเข้าสู่ระบบ
bulletสมัครสมาชิก
การรับประกันสินค้า
dot
ตระกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
ค้นหาสินค้า

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า

  [Help]
dot
dot
อีเมล์

dot
หมวดสินค้า
เครื่องยนต์อเนกประสงค์
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องพ่นยา
เครื่องปั่นไฟ
ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ
เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
เครื่องเจาะดิน
เครื่องมือฮาร์ดแวร์
แม่แรงยกรถ
เอ็นตัดหญ้า กระปุกเอ็นตัดหญ้า
สินค้าอื่นๆ
line id @vigotech
แจ้งชำระเงิน
โปรโมชั่นประจำเดือน
clinton
กิจกรรมของบริษัท
วีดีโอการใช้งาน
รีวิวสินค้าจากลูกค้า
ข่าวเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ขนส่งเคอรี่ kerry
bulletเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
คู่มือการใช้งานเครื่องพ่นยาสะพายหลังแบตเตอรี่และมือโยก


เครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร


เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน article

เปิดเทคนิคการปลูกมะละกอให้ดกแบบคุณภาพของสวนปรีชา

8 ไร่ เก็บครั้งละ 3-4 ตัน ฟันเงินกว่า 2.5 แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน

เรียกว่าสร้างความฮือฮาแบบไลท์ถล่มทลายในกลุ่มเกษตรก้าวใหม่หลังจากที่ได้เห็นความดกแบบอลังการของมะละกอสวนนี้ ทำให้หลายคนอยากรู้เทคนิคการทำมะละกอให้ติดดกแบบคุณภาพ เพราะนั่นหมายถึงปริมาณผลผลิตที่สูงมากๆ แม้ราคามะละกอในช่วงนี้อาจไม่สูงมากนักแต่จากผลผลิตที่ดกเต็มคอและคงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปได้อีกยาวนานก็คงจะทำเงินให้กับสวนนี้ได้อีกไม่น้อยทีเดียว ขนาดมะละกอราคาไม่ค่อยดีแต่เพียงระยะเวลา 2 เดือนกว่าที่เก็บผลผลิตก็สามารถทำเงินได้มากกว่า 2.5 แสนบาท หากราคามะละกอสูงกว่านี้ คงฟันเงินไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน

 

ทำสวนมะละกอครั้งแรก...หลังวิกฤติอ้อยตกต่ำ

ไม่น่าเชื่อว่า มะละกอคุณภาพขนาดนี้จะเป็นการทำสวนมะละกอครั้งแรกของเด็กหนุ่มไฟแรงมากความสามารถที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ไม่กี่ปี คุณปรีชา กาละวัย เจ้าของสวนมะละกอปรีชา บอกกับเราว่า นี่เป็นสวนมะละกอแปลงแรกของเขา เพราะอาชีพดั่งเดิมของครอบครัวก็คือการทำอ้อยและรับโควตาซื้ออ้อยเข้าโรงงานปีหนึ่งกว่า 4-5 พันตันหรือคิดเป็นปริมาณพื้นที่ปลูกก็ร่วม 500 กว่าไร่ แต่ในช่วงปีหลังๆมานี้ธุรกิจอ้อยที่เคยเป็นรายได้หลักของครอบครัวและเป็นรายได้ที่สร้างฐานะให้กับครอบครัวกลับกลายเป็นพืชที่สร้างหนี้ก้อนโตสะสมขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งสภาวะฝนแล้ง อ้อยขาดน้ำ ผลผลิตเสียหาย ราคาอ้อยที่ตกต่ำ ขาดทุนต่อเนื่องและสะสมมาตลอดหลายปี ยิ่งทำมากยิ่งขาดทุนมาก คุณปรีชาเองเรียนจบด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และมาทำงานกับบริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ในตำแหน่ง System Engineer บริษัท แวลู เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อนหน้านี้เขาบอกว่าไม่เคยรับรู้ปัญหาของทางบ้าน แต่เมื่อได้รับรู้เขาจึงคิดโจทย์ใหญ่ที่จะมาแก้วิกฤตินี้ให้ได้ เขาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้านเกษตรจากหลายช่องทางทั้งอินเตอร์เน็ต หนังสือเกษตร(ดีใจค่ะที่ รักษ์เกษตร คือหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแหล่งข้อมูลของเขา) รวมทั้งการเดินทางไปดูสวนจริง จนในที่สุดเขาตัดสินใจเลือกมะละกอพืชที่เขามองว่าปลูกไม่ยาก ดูแลไม่มาก ช่วงวันธรรมดาก็ให้ครอบครัวดูแลได้ แต่เสาร์-อาทิตย์เขาก็กลับมาช่วยดูแลได้ อีกทั้งเป็นพืชที่มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญ กาญจนบุรีเป็นแหล่งใหญ่ของการปลูกมะละกออยู่แล้ว การหาแม่ค้ารับซื้อผลผลิตในวันเก็บเกี่ยวจึงไม่น่าจะใช่เรื่องยาก

พื้นฐานดินที่ดี สมบูรณ์ คือส่วนสำคัญของผลผลิตที่ดี

หลังจากที่ตัดสินใจแล้วคุณปรีชาก็เตรียมแปลงโดยเลือกพื้นที่ใกล้บ้านจำนวน 8 ไร่ มาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ซึ่งความได้เปรียบของที่ดินแปลงนี้ก็คือ การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอจากบ่อบาดาล อยู่ใกล้บ้าน การดูแลสะดวก ที่สำคัญสภาพพื้นดินสมบูรณ์มากๆ จากการที่ที่ดินแปลงนี้เคยปลูกอ้อยมาก่อนและมีการบำรุงดินอย่างดีในช่วงที่ปลูกอ้อยซึ่งจะมีการใส่ปุ๋ยขี้ไก่อยู่ตลอดทุก 2-3 เดือน ทำให้สภาพโครงสร้างของดินที่นี่จัดว่าดีเลยทีเดียว ดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกเขาก็ยังรองพื้นขี้ไก่ไปอีกหลายร้อยกระสอบ

เทคนิคการทำให้มะละกอติดดก คุณภาพดี

หลังจากเตรียมดินดีแล้ว ก็มาเตรียมต้นกล้าที่ดีพร้อมปลูก โดยเลือกซื้อเมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีเทคนิคการทำให้ต้นกล้างอกดี งอกสม่ำเสมอด้วยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน และบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 คืน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำมาเพาะในถุงดำ ต้นละ 3 เมล็ด แล้วคลุมพลาสติกดำไว้อีก 5 วัน เมื่อเปิดพลาสติกดำออกมาต้นกล้าจะงอกอย่างสวยงามเลยทีเดียว เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วันจึงนำไปปลูกลงแปลง คุณปรีชาบอกว่า มะละกอแปลงนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 ต้น ใช้ระยะปลูก 2.7x3 เมตร เมื่อต้นมะละกอออกดอกอายุ 2-3 เดือน จึงคัดเพศ เลือกต้นกระเทยไว้ ตามหลักการปลูกมะละกอทั่วไป

สำหรับการใส่ปุ๋ยช่วงแรกใส่ปุ๋ยขี้ไก่รองพื้นก่อนปลูก จากนั้นก็ให้ 15-0-0 ทุก 15 วัน หลังคัดเพศ อายุประมาณ 3 เดือน เปลี่ยนมาใส่ 8-24-24 สลับกับ 14-7-35 หรือ 15-5-20 ทุก 15 วัน ปริมาณปุ๋ยที่ให้ไม่มาก 8 ไร่ ใส่เพียง 100 กก.หรือ ปุ๋ย 2 กระสอบ นั่นเพราะสภาพโครงสร้างของดินที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูก และเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างดินที่ร่วนซุยด้วยการใส่ขี้ไก่ทุก 2 เดือนต้นละ 2 กก./ครั้ง ซึ่งที่นี่ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เยอะ คุณปรีชาจะไปเหมาเล้าเลย เล้าละ 5-6 พันบาท กรอกถุงได้ประมาณ 800-900 ถุงปุ๋ย ส่วนทางใบพ่นปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 พ่นทุก 7 วันร่วมกับธาตุอาหารเสริมแคลเซียม-โบรอนที่ให้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่มีคนปลูกมะละกอคนไหนให้ปุ๋ยมากขนาดนี้อย่างแน่นอนค่ะ แต่นี่คือการลงทุนที่เกินคุ้มค่ะ ส่วนโรค-แมลงก็จะควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยแมลงก็ใช้เพียงอิมิดาคลอพริดพ่นสลับกับคาร์โบซัลแฟน หรือถ้าเจอแมลงระบาดก็จะจัดการเป็นตัวๆไป ยากันราก็ใช้แมนโคเซ็บกับคาร์เบนดาซิมยืนพื้น มีคอปเปอร์มาพ่นสลับบ้าง และถ้ามีปัญหาก็จะว่ากันไปตามการระบาด

คุณปรีชาบอกว่า มะละกอเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูง ขนาดเขาให้ปุ๋ยและใช้ เครื่องพ่นยา พ่นยาอย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับบางแปลงที่แทบไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือพ่นยาเลย มะละกอ 8 ไร่นี้ยังหมดค่าปุ๋ย ค่ายาเพียงเดือนละ 10,000-12,000 บาท รวมค่าแรงแล้วเท่ากับเก็บมะละกอเพียงรอบเดียวก็คืนทุนแล้ว แต่เดือนหนึ่งเขาเก็บมะละกอตั้ง 8-10 ครั้ง โดยต้นทุนตั้งแต่ปลูกจนถึงตอนนี้ 10 กว่าเดือนเขาลงทุนไปแค่ 1 แสนบาท แต่เก็บมะละกอขายมาแล้วกว่า 2.5 แสนบาท

ความได้เปรียบของตลาดและการขายผลผลิต

ความได้เปรียบด้านตลาดของที่นี่ก็คือ กาญจนบุรีเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อยู่แล้ว ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกมะละกอกันอย่างมากมาย มีคนเก่าเลิกไปก็มีคนใหม่เข้ามาปลูกแทน เป็นเช่นนี้อยู่ตลอด จึงทำให้มะละกอที่นี่มีผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีผู้รับซื้อหรือรวบรวมในพื้นที่ยักษ์ใหญ่อย่าง นพยุทธ เจ้าพ่อมะละกอเมืองกาญจน์รับซื้อผลผลิตตลอดอยู่แล้ว คุณปรีชาจึงไม่ห่วงเรื่องตลาดตั้งแต่แรก ประกอบกับเชื่อมั่นว่า หากผลผลิตมีคุณภาพแม่ค้าคนไหนก็อยากซื้อ จึงทำให้มะละกอสวนปรีชามีแต่แม่ค้าเข้ามาขอซื้อผลผลิตอยู่ตลอด 
การนำผลผลิตส่งตลาดหรือนพยุทธก็ทำเพียงเก็บผลผลิตเสร็จก็นำบรรทุกใส่รถไปยังจุดรับซื้อ ทางจุดรับซื้อจะนำไปห่อกระดาษหนังสือพิมพ์และนำส่งลูกค้าอีกที โดยที่สวนจะเก็บมะละกอทุก 3-4 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยประมาณ เดือนละ 8 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ประมาณ 3-4 ตัน หรือมากกว่านี้ โดยมะละกอแปลงนี้เริ่มปลูกเดือนมกราคม เริ่มเก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม ช่วงแรกที่เก็บเจอราคาสูงไป 2-3 รอบ ยังได้ราคา 27-30 บาท/กก.อยู่ แต่หลังจากนั้นราคามะละกอก็ขยับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25 20 15 12 10 บาท/กก.

หลังจากเห็นผลตอบแทนจากมะละกอแปลงนี้คุณปรีชาก็ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 16 ไร่ ตอนนี้อายุ 3 เดือนกว่าแล้ว และกำลังเพาะเมล็ดเตรียมปลูกเพิ่มอีก 20 ไร่ ด้วยความมั่นใจว่า พืชชนิดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้ในอนาคตแม้วันนี้ราคามะละกอจะถูกกว่าทุกปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เขายังเชื่อมั่นว่ามะละกอคือพืชทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพราะมะละกอ 8 ไร่ ที่เขาปลูกลงทุนไปเพียงแสนกว่าบาท และเก็บมะละกอในช่วงที่ราคาผลผลิตไม่ดีนักแต่ในระยะ 2 เดือนกว่า มะละกอ 1,500 ต้นก็ทำรายได้ให้กับเขามากกว่า 2.5 แสนบาท ถ้าราคามะละกอดีกว่านี้เขาเชื่อว่าระยะเวลา 2 เดือนมะละกอ 8 ไร่ จะทำรายได้ให้เขาไม่ต่ำกว่า 3 แสนกว่าบาทแน่นอน และด้วยความได้เปรียบของการเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เพราะช่วงที่ไม่ได้เก็บมะละกอเขาก็ดูแลเองในครอบครัวเพียง 2-3 คน ช่วงเก็บผลผลิตก็จ้างแรงงานเพิ่มอีกเพียง 2-3 คน จึงเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น เขาบอกว่า เขาตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเดินหน้ากับมะละกอ

สวนปรีชา 456 ม.5 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 087-1658993

 

 

เครดิต กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ จากคุณหนึ่ง Rakkaset Nungruethail





ข่าวเกษตรน่ารู้

เทคนิคการปลูกและวิธีเพาะพันธุ์ผักหวานป่า ให้เจริญงอกงาม
การปลูกไผ่ตง พืชอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ เป็นที่ต้องการของตลาด
วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีรสชาติหวานกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ
วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยพืชสด
การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีทำ สารกำจัดศัตรูพืช น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)
วิธีทำ สมุนไพรขับไล่แมลง แบบต่างๆ
การเลี้ยงกบ เพื่อเลี้ยงชีพ และ การเตรียมบ่อพัก
6 ขั้นตอน การทำนาข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษ
ขั้นตอนวิธีทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยตนเอง
ขั้นตอนวิธีทำ การเผาถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน
น้ำสกัดชีวภาพ คืออะไร และการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
งานเกษตรแฟร์ 2563 นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน
เกษตรกรจังหวัดพะเยา "ปลูกแตงโม" บนเนื้อที่ 13 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 300,000
เกษตรกร จ.ราชบุรี จับกลุ่มปลูกองุ่นไร้เมล็ด เชิญชวนชิมสดจากไร่
เห็ดมิลค์กี้ พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เสริม กก. ละ 1,000 บาท เพาะง่ายรายได้ดี
งานเกษตรแฟร์ 2562
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
งานเกษตรแฟร์ 2561 กับแนวคิดร่วมกันก้าวไป วันที่ 26 ม.ค. - 3 ก.พ article
คึกคักสุดๆ!! ชมชิมช้อป ทุเรียน มังคุด ชั้นหนึ่ง เมืองจันท์
ถั่วพู ผักพื้นบ้านปลูกง่ายสร้างรายได้งาม ดีกว่าถั่วเหลือง
ปลูกเมลอนขายในโซเชียล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า!
เทปน้ำหยด นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร
[อบรมฟรี] สวนเกษตรดาดฟ้าหลักสี่อบรมฟรี ปลูกผักปลอดสารพิษ
เทคนิคการปลูกพืชคลุมดิน
Review ตลับเอ็นตัดหญ้า จากการใช้งานจริง by Alcidini Winery ไร่ไวน์อัลซิดินี่
งาน Organic & Natural Expo 2015
เห็ดโต่งฝน เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่จากประเทศเพื่อนบ้าน
ผักบุ้งแก้ว 2 ไร่ เก็บขายได้วันละพัน article
เยี่ยมไร่เมล่อนกำแพงแสน ดูเทคนิคการผลิตเมล่อนให้หวานอร่อย
เกษตรกรเมืองโอ่งเพาะเห็ดหูหนูขาย สร้างรายได้กว่าหมื่นบาทต่อวัน article
เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ article
มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ เปรี้ยวอย่างมีสีสันเพิ่มมูลค่าอาหารให้ดูไฮโซ article
ชมพู่ทับทิมจันท์....สวนดังของราชบุรี ชมพู่คุณภาพส่งจีน article
เยี่ยมสวนฝรั่ง..มืออาชีพที่บ้านแพ้วเงินล้านจากฝรั่งทำไม่ยาก article
กล้วยตัดใบแหล่งใหญ่ของประเทศ พื้นที่ปลูกนับ 10,000 ไร่ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก article
ปลูกข่าเหลือง พืชเศรษฐกิจทำเงินที่น่าลงทุน ปลูกง่าย รายได้ดี 5-8 หมื่นบาท/ไร่ article
พังกาลอดฟาร์ม...พลิกฟื้นชาวสวนยาง ด้วยธุรกิจนกกระทาผลิต 80,000 ตัว/เดือน article
วิธีปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์ article
วิธีการปลูกผักบุ้งจีน ผักแคลเซียมสูง ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว article
วิธีการปลูกผักชี ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
วิธีปลูกข้าวโพดสีม่วง ปลูกง่าย รายได้ดี article
ปลูกผักคะน้าเกษตรอินทรีย์ ขายดี ราคาดี ไม่มีคู่แข่ง article
ขนุนทวาย พันธุ์ปิยะมาดา เปลือกบางยางน้อย ให้ผลดก article
เพาะพันธุ์สับปะรดสี ใช้พื้นที่น้อย รายได้ดี ปลูกง่าย รายได้หลักหมื่น article
กุ้งก้ามแดง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในนาข้าว กก.ละ 400-500 บาท อาชีพพลิกฟื้นฐานะของชาวนาไทย article
มาริสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
การปลูกมะม่วงในวงบ่อปลูกไม่ยาก ให้ผลผลิตดี article
‘สาคู’พืชเศรษฐกิจช่องทางรวยของภาคใต้ article
เกษตรในเมือง....ปลูกผักบนดาดฟ้าอาคารสำนักงานแบบ DIY article
การปลูกพริก และประโยชน์ของพริก article
เทคนิคการปลูกผักในร่ม ใต้โคนต้นไม้ใหญ่ article
โรคผลเน่าของแคนตาลูป article
ทำไมบางคนใช้ยาแล้วได้ผล บางคนไม่ได้ผล ทั้งที่มันเป็นยาตัวเดียวกัน ?? article
การปลูกผักหลังน้ำท่วม article
การอนุรักษ์ดินบนพื้นที่ลาดเท article
วิธีพัฒนาที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง article
สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
ปลูกตะไคร้ ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน article
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว article
เผือกหอม พืชหลังนา สร้างรายได้งามของคนบ้านหมอ สระบุรี article
ปลูกแตงกวา ระบบน้ำหยด ที่ไร่ “ศุภโชค หินเบี้ย” จ.เพชรบูรณ์ article
อะโวคาโด...พืชเศรษฐกิจนอกสายตา ตลาดต้องการสูง ราคาแพง 50-60 บาท/กก. article
พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ article
สวนกายกานต์ ….ปลูกตะไคร้กว่า 100 ไร่ ป้อนตลาดครบวงจร ทั้งกินสด ส่งโรงงาน ส่งออก อาทิตย์ละ 10 ตัน article
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้นท้ายไร่ ที่พิจิตร article
ลูกหม่อน อีกหนึ่งพืชเพื่อสุขภาพกระแสแรง article
เห็ดแครง…เห็ดเศรษฐกิจมาแรง ราคาแพง 150-200 บาท/กก. ตลาดต้องการสูง article
แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่นแห่งใหม่ พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ปลูก 7 จังหวัด article
เกษตรกร กำแพงแสน ปลูกกระชายส่งขาย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี article
มะนาวแป้นพิจิตร เน้นทำนอกฤดู ขายช่วงแพง ฟันกำไร article
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน article
ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์100 ไร่ ผลผลิตกว่า 1,500 ตัน article
ปลูกแก้วมังกร 1,500 ไร่ สร้างรายได้มหาศาล
เยี่ยมสวนมะกรูด ผลิตใบมะกรูดคุณภาพป้อนตลาดส่งนอก
หน่อไม้ฝรั่งส่งญี่ปุ่น ทำเงินสะพัด พลิกฐานะชั่วข้ามปี article
กุยช่าย พืชทำเงินของคนเมืองโอ่ง
ต้นเหตุของดินเสื่อม article
ปลูกหญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ ช่วยรักษาหน้าดินและสิ่งแวดล้อม article
จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC article
ราคาผัก ผลไม้กำหนดจากอะไร…ทำไมราคาจากสวนจึงต่างจากราคาตลาดมาก article
มาริสสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
เทคนิคผลิตเมล่อนเกรดพรีเมี่ยม ส่งแม็คโครสัปดาห์ละ 2 ตัน article
เยี่ยมสวนมะพร้าวน้ำหอมส่งนอก 60 ไร่ สร้างอาชีพยั่งยืนนานกว่า 20 ปี article
ปลูกแตงกวาไร่เดียว ฟันเงินกว่า 70,000 ลงทุนแค่ 13,000 article
ปลูกดอกสลิดสร้างรายได้ช่วงหน้าหนาวราคาพุ่ง กก. 120-130 บาท article
เทคนิคเพาะเห็ดนางฟ้าขายช่วงราคาแพง จากสมบูรณ์ฟาร์ม จ.ขอนแก่น article
มันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต article
โกลบอล ออร์แกนิคส์ ส่งมะละกอป้อนห้างวันละกว่า 10 ตัน article
ธ.ก.ส ปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกรแก้หนี้นอกระบบ article
พริกไทย..พืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้นับล้าน ที่สุโขทัย article
วิเคราะห์ตลาดมะละกอสุกก่อนลงทุน article
มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ article
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ นับ 1,000 ไร่ article
ขนุน...พืชทำเงินของชาว จ.ระยอง ส่งออกต่างประเทศ article
มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ article
พุทราสามรส… พืชทำเงินที่หลายคนมองข้าม ทำเงินปีละ 1.5-2 ล้านบาท article



Copyright 2020 S.P. HARDWARE IMPORT EXPORT Co.,Ltd. All rights reserved.