เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ
แตงไทย เป็นพืชวงศ์เดียวกับ บวบ ฟัก หรือแตงต่างๆ อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า CUCUMIS MELO LINN เป็นไม้ล้มลุกที่มีเถาเลื้อยไปบนดิน มีมือจับตรงง่ามใบ ใบมีขนาดใหญ่คล้ายๆ ใบแตงกวา ทุกส่วนของลำต้นมีขนสีขาวปกคลุม ดอกสีเหลือง แยกเป็นดอกตัวผู้และดอกตัวเมียยู่บนต้นเดียวกัน ผลมีขนาดโตกว่าแตงกวา แต่เล็กกว่าแตงโม รูปร่างกลมรี หรือกลมยาว หัวท้ายมน ผิวเปลือกบาง ผิวสีขาว ครีม เหลือง เขียว หรือมีลาย เนื้อเมื่ออ่อนสีขาว เมื่อสุกสีขาว เขียวอมเหลือง แสด ฯลฯ เนื้ออ่อนนุ่ม บางพันธุ์ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวค่อนข้างแรง รสหวานไม่มากเท่าแตงโม ขึ้นอยู่กับพันธุ์และวิธีปลูก เมล็ดแบนสีขาวครีมเล็ก และสั้นกว่าเมล็ดแตงกวา
แตงไทยมีถิ่นกำเนินดั้งเดิมอยู่ภายใต้ของทวีปแอฟริกาเช่นเดียวกับแตงโม และแพร่หลายไปทั่วโลกเหมือนกัน แตงไทยเข้ามาพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่เมื่อใดไม่มีบันทึกเอาไว้แต่คงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว จึงพบว่ามีปลูกอยู่ทั่วไปทุกภาครวมทั้งคนกลุ่มน้อย เช่น ชาวไทยภูเขาต่างๆ ที่ปลูกแตงไทยมานานแล้วเช่นกัน
แตงไทยที่ปลูกในไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก ในแต่ละพื้นที่ทั้งในด้านรูปร่างของผล ลวดลายบนผล สีผิวผล เนื้อผล สีเนื้อ สีไส้ เป็นต้น นอกจากนี้แตงไทยยังเป็นพืชที่ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับแตงชนิดอื่นๆ แตงไทยพืชผลไม้ไทยๆ มีปลูกกันมาแต่โบราณแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรปลูกแตงไทยเป็นแบบรายได้เสริม ปลูกเพื่อใช้เป็นพืชคลุมดินแซมในสวนผลไม้ที่ต้นยังเล็กอยู่
การเตรียมแปลงปลูก
เริ่มจากไถแล้วก็ตามดินให้แห้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคและแมลงต่างๆ ในดิน จากนั้นจึงไถยกร่อง หลังร่องกว้าง 80-100 เซนติเมตร เว้นให้แปลงห่างกันประมาณ 4 เมตร จากนั้นหว่านปูนขาวให้ทั่วแปลงเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และปรับสภาพดินไม่ให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรค หากดินไม่ค่อยมีความสมบูรณ์ก็ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่าเพิ่มลงไปในช่วงของการเตรียมแปลง ส่วนปุ๋ยเคมีนั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแตงไทยเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วมาก เพื่อให้พืชได้มีอาหารอย่างเพียงพอ ดังนั้นต้องมีการหว่านปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 บนร่องแลงปลูก จากนั้นก็ต้องวางระบบน้ำ เช่น ระบบน้ำหยด
ข้อดีของระบบน้ำหยด คือ สามารถใช้ปุ๋ยเคมีผ่านระบบน้ำได้เลย ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ลดปัญหาการจัดการและแรงงานได้มาก เมื่อเตรียมความพร้อมของแปลงปลูกดีแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการใช้พลาสติกคลุมแปลง ส่วนมากที่ใช้กันคือ ความกว้าง 80 เซนติเมตร และขนาดความกว้าง 100 เซนติเมตร ซึ่งขนาดความกว้างของพลาสติกคลุมแปลง 80 เซนติเมตร จะดีกว่า เพราะเมื่อเถาแตงไทยเลื้อยพ้นพลาสติกคลุมแปลงลงมา รากของต้นแตงไทยจะได้น้ำที่ไหลชื้นนอกแปลงก่อน แต่ถ้าผืนพลาสติกกว้างเกินไปกว่าเถาแตงไทยจะเลื้อยพ้นก็ย่อมช้ากว่า ทั้งนี้ แปลงที่ใช้พลาสติกคลุมแปลงกว้าง 80 เซนติเมตรนั้น ต้นเจริญเติบโตเร็วกว่า ผลแตงไทยน้ำหนักผลดี เมื่อปูพลาสติกจนหมดแล้ว ก็จะเจาะรู โดยใช้ระยะปลูก 50 เซนติเมตร
วิธีการปลูก
ควรเปิดน้ำให้แปลงมีความชื้นเสียก่อน จึงค่อยหยอดเมล็ดพันธุ์แตงไทยตรงเลยที่หลุมปลูก จะหยอดหลุมละประมาณ 5-6 เมล็ด หลังจากนั้น 2-3 วัน เมล็ดแตงไทยก็จะทยอยงอกพร้อมๆกันทั้งหมดก็ต้องมาคัดเลือก ช่วงที่แตงไทยออกดอก ควรเว้นการใส่สารเคมีที่ฆ่าแมลง เช่น ผึ้ง มิ้ม เป็นต้น เพราะแตงไทยเป็นพืชที่ต้องการการผสมดอกจากแมลงเหล่านี้
การใช้สารเคมี
แตงไทยอายุได้ 20 วัน ให้เร่งการเจริญเติบโตให้เถาแตงไทยเดินใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ให้ผ่านระบบน้ำหยด
การใส่ปุ๋ย
ส่วนใหญ่ทุกครั้งจะให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำหยด การใส่ปุ๋ยไปกับระบบน้ำนั้นจะต้องนำปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 มาละลายกับน้ำสะอาด กวนปุ๋ยกับน้ำในถัง คนให้ปุ๋ยละลายให้หมด เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้กากปุ๋ยตกตะกอน 1 คืน เช้าขึ้นมาก็จะรินส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ชั้นด้านบนมาใช้โดยปล่อยน้ำปุ๋ยที่ได้ไปพร้อมกับระบบหยดน้ำ ซึ่งระบบน้ำแบบนี้ลงทุนครั้งเยว ประหยัดทั้งเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่ายเป้นอย่างมาก และให้ผลดีชัดเจนกับแตงไทยด้วย เมื่อแตงไทยอายุได้ราว 30 วัน จะเป็นช่วงที่ต้นแตงไทยเริ่มออกดอกชุดแรกและเริ่มติดผลอ่อน ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่สุด ช่วงของการออกดอกและติดผลครั้งแรกต้องระวัง โดยจะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ด้วยสูตร 15-15-15 ในช่วงที่ผลแตงไทยมีขนาดประมาณข้อเขนมือ หรือผลใหญ่กว่าไข่เป็ดเบอร์ใหญ่ หรือผลแตงอ่อน มีน้ำหนัก 100-200 กรัม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้นแตงไทยอายุประมาณ 45 วัน ให้สังเกตจากขนาดผลเป็นหลัก ในการให้ปุ๋ย ครั้งที่ 3 และการใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 4 ก็มักจะใส่ช่วงผลแตงไทยชุดแรกมีขนาดใหญ่ ประมาณ 1-2 กิโลกรัม เพราะเป็นช่วงสร้างเนื้อขยายผล
การลูกแตงไทยจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 2,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ย การวางระบบน้ำ สารป้องกันแมลง พลาสติกคลุมแปลง เป็นต้น แต่การลงทุนด้วยวัสดุบางชนิดสามารถใช้งานได้ถึง 3-4 รอบการผลิตส่วนรายได้เฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 20,000 บาท จึงนับว่าเป็นผลไม้ตระกูลแตงที่น่าปลูกอีกชนิดหนึ่งทีเดียว
cr. เกษตรโฟกัส เล่ม3